การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาศาสตร์เบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ณัฐวิภา วิริยา นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • บำรุง โตรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมภาษาศาสตร์เบื้องต้นที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพของครูสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ซึ่งแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความจำเป็นด้านภาษาศาสตร์เบื้องต้นของครูสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา และระยะที่ 2 การพัฒนาและประเมินหลักสูตรฝึกอบรมภาษาศาสตร์เบื้องต้นของครูสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครที่เป็นครูสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเขต 1 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมภาษาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.5/87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.68 กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางความรู้และทักษะด้านภาษาศาสตร์หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าขนาดของผลเท่ากับ 4.18 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีการตระหนักรู้ด้านภาษาศาสตร์สูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 6.19 ตลอดจนพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62

 

Abstract

This research aimed to develop and evaluate the quality of an Introductory Linguistics Training Program to enhance the quality of primary school english teachers. The research methodology applied in this study was based on Research and Development which was divided into two phases: 1) the needs analysis of primary school english teachers, and 2) the development and evaluation of an effectiveness of the IntroductoryLinguistics Training Program. The samples were 50 volunteer EFL primary school teachers in Nakhonpathom Educational Service Area Office 1. The research instruments used for collecting data were the developed training program. The research results revealed that the developed training program reached the efficiency (E1/ E2) at 83.50/87.00,which was in conformity with the established requirement of 80/80, and had the effectiveness index (E.I) of 0.68. Moreover, it was found that the teachers participating in the training program increased their knowledge and skills of introductory linguistics before program implication at the .05 level of statistical significance. The developed training program had a very large effect size (d=4.18) on their knowledge and skills. Furthermore, they increased their self-awareness toward introductory linguistics before operation at the 0.05 level of statistical significance. The developed training program had a very large effect size on their self- awareness (d=6.19). Finally, their satisfaction toward training program in overall was found at the highest level (X=4.62).

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย