การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • อารยา ช่ออังชัญ นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วัชรา เล่าเรียนดี อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในวิชาวิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า “PLOASE Model ” ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมและกระตุ้นจูงใจในการเรียน(Preparation and Motivation Stage: P) 2) ขั้นเรียนรู้กระบวนการคิดโดยฝึกปฏิบัติ (Learning the Thinking through Practice Stage: L) 3) ขั้นจัดระเบียบความรู้ (Knowledge Organization Stage: O) 4) ขั้นประยุกต์ใช้กระบวนการคิด(The Application of the Thinking Process: A) 5) ขั้นสรุป (Summarization stage: S) 6) ขั้นประเมินผล (The Evaluation Stage: E) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 86.11/87.67 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. ความสามารถในคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในวิชาวิทยาศาสตร์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

Abstract

The purposes of this research were to: 1)develop and verify the efficiency of instructional model, 2) compare problem solving with critical thinking abilities and 3) investigate satisfaction of the fifth grade students

The results of the study were as follows:

1. The instructional model was called PLOASE Model. There were 5 steps of syntax as follows: 1) Preparation and Motivation Stage: (P) 2) Learning the Thinking through Practice Stage: (L) 3) Knowledge Organization Stage: (O) 4) The Application of the Thinking Process: (A) 5) Summarization stage: (S) 6) The Evaluation Stage: (E) The efficiency of the instructional model who enhanced problem solving with critical thinking abilities in science of fifth grade students achieved the criterion of 86.11/87.67, which was higher than the required standard criterion of 80/80.

2. Problem solving with critical thinking abilities of fifth grade students, including knowledge, problem solving with critical thinking abilities, and science process skills with the instructional model were higher than before at the .05 level of significance.

3. The satisfaction of the fifth grade students toward the PLOASE model to enhance problem solving with critical thinking abilities in science was at the highest level.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย