การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสะกดคำยาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา

Main Article Content

ประไพ สุวรรณสารคุณ
วัชรา เล่าเรียนดี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสะกดคำยากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษากับเกณฑ์ ร้อยละ 70 2) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์ ความมีวินัย และความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนวัดม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 16 คน ปีการศึกษา 2553

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสะกดคำยากของนักเรียน เท่ากับร้อยละ 76.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความมุ่งมั่นในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

Abstract

The purposes of this experimental research were 1) to compare learning achievement on difficult words spelling of third grade students taught by educational games with a 70 percent score, 2) to evaluate the desirable characteristics on the aspects of honesty, discipline and commitment in works of the third grade students and 3) to investigate the opinions of third grade students towards the instruction by educational games. The sample of this research were 16 third grade students of Wat Muang school, Banpong, Ratchaburi. Province in the first semester of the 2010 academic year.

The results of this research were as follows 1) A scove of 76.58% was achicved on spelling of difficult words of third grade students after learning by educational games, which is higher than the required rate of 70.00 percent, 2) The desirable characteristics on honesty, discipline, and the commitment in works of the third grade students were at excellent level in all aspects and 3) The opinions of the third grade students towards the instruction by educational games as a whole were at high agreement level.

Article Details

Section
บทความวิจัย