การศึกษาผลการเรียนแบบผสมผสานที่มีแบบทางการเรียนต่างกัน วิชาสื่อการศึกษาเบื้องต้นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ เฉิดฉันท์พิพัฒน์ นักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อนิรุทธ์ สติมั่น อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการเรียนแบบผสมผสาน ที่มีแบบทางการเรียนต่างกัน วิชาสื่อการศึกษาเบื้องต้น พบว่า 1) ผลการเรียนรู้หลังเรียนของนักศึกษา จากการเรียนแบบผสมผสาน ที่มีแบบทางการเรียนต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย กลุ่มปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน สูงกว่า กลุ่มปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ กลุ่มปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน สูงกว่ากลุ่มปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา จากการเรียนแบบผสมผสานที่มีแบบทางการเรียนต่างกัน ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ความคิดเห็นของนักศึกษา หลังจากเรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน อยู่ในระดับมาก, มากที่สุด

 

Abstract

This study of learning outcomes of blended learning with different interactive learning types in introduction to educational media courses. had three main findings 1) Posttest of blended learning with Learner-Learner Interaction had higher learning achievement than both the blended learning with Learner-Instructor Interaction and the blended learning with the type of Learner-Content interaction at the .05 level of significantce. 2) Posttest scores for blended with different interactive learning types was higher than the pretest at the .05 level of significantce. 3) The students satisfaction with blended learning scored at the high and highest level.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย