การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • สาลิกา สำเภาทอง นักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มาเรียม นิลพันธุ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนกิจกรรมพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบ้านสวนหลวง(รัตนวิจิตรพิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 40 คน ใช้แบบแผนการวิจัยขั้นพื้นฐาน (Pre Experimental Design) แบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลัง (The One- Group Pretest-Posttest Design) 4) ประเมินและปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน

ผลการวิจัยพบว่า1) ผลการศึกษาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนควรใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมโดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน ให้ผู้เรียนลงมือปฎิบัติจริงและใช้ความรู้วิทยาศาสตร์บนพื้นฐานความเป็นไทย 2) แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.59 /80.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 3) ผลการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4) ผลการประเมินและปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในภาพรวม แผนที่ 8 ปัจฉิมนิเทศ มีคะแนนสูงสุด ระดับคุณภาพดี นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) Study the design to develop learning activities using folk toys 2) Design a learning activity using folk toys and determine its effectiveeness of learning with an 80/80 staudard outcome. 3) Test the learning activity using folk toys. The sample size was the seventh grade students of Bansuanluang School (Rattanawijit pittayakarn) in the Samuthsakhon Education Service Area. Pre Experimental Design used was the One-Group Pretest-Posttest Design. 4) Evaluate and develop the development of learning activities taught by folk toys.

The research found that: 1) The learning activity promoted leaning by doing using scientific method and Thai know-how 2) The effectireness was 80.59 /80.63 higher than the standard 3) The pretest – posttest learning scores of the seventh grade students different at a significance level of .05 with post-test scores significance higher 4)The development of learning activities using folk toys enhance the scientific process skills for seventh grade students.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย