การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตในบริบทของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • มนัสนันท์ รอดเชื้อจีน นิสิตปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตในบริบทของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 450 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดทักษะชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.52 ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่าโมเดลตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( X 2 = 727.39 df = 680,p = .10) โดยองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญในการบ่งชี้ทักษะชีวิตในบริบทของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มากที่สุด ได้แก่ องค์ประกอบทักษะชีวิตด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การจัดการอารมณ์ เท่ากัน รองลงมาได้แก่ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การตระหนักรู้ในตน ความภาคภูมิใจในตนเอง การเห็นใจผู้อื่น การสร้างสัมพันธภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคม และการจัดความเครียด ตามลำดับ

 

Abstract

This study aimed to develop life skills indicators for Social Studies, Religion and Culture classes of secondary students. The samples were 450 secondary level students in Bangkok and suburban area selected by multi stage sampling method. The tools for data collection used in this study were life skills test. The data were analyzed in second order confirmatory factor analysis using LISREL 8.52. The study found that the life skills indicators developed fit the empirical data set ( X 2 =727.39 df=680, p=.10). The range of important components with factor loading that could indicate life skills in learning substance of Social Studies, Religion and Culture of secondary level students (from most to least) were critical thinking, creative thinking, decision making, problem solving, managing emotion, effective communication, self awareness, self-esteem, sympathy, relationship, social responsibility and managing stress respectively

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย