การพัฒนาหลักสูตรรายวิชามวยไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ผู้แต่ง

  • ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล นักศึกษาปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชามวยไทยศึกษา วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ชาญชัย ยมดิษฐ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชามวยไทยศึกษา วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชามวยไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา และโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา โรงเรียนละ 80 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร 2) แบบสอบถามความคิดเห็น 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบวัดความรู้ 5) แบบทดสอบทักษะ 6) แบบวัดเจตคติ 7) แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และ 8) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรรายวิชามวยไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยผ่านขั้นตอนการทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไข ทำให้ได้เอกสารหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้

 

Abstract

The purpose of this research was to develop the Muaythai Curriculum in Secondary Education following the Basic Education Core Curriculum B.E. The research samples consisted of 80 Matthayomsuksa one students of Kasetsart University Laboratory School Kamphaeng Saen Campus, Educational Research and Development Center and 80 Matthayomsuksa one students of Kamphaeng saen Wittaya School. These samples were selected by simple random sampling method samples. The research instruments were: 1) documents and research related to curriculum development 2) an opinion questionnaire 3) a lesson plan 4) an achievement test 5) a skill test 6) an attitude test 7) a desirable characteristics test and 8) a health-related physical fitness test. The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation and t-test. The study showed that the Muaythai Curriculum in Secondary Education following the Basic Education Core Curriculum was triedout and improved in order to provide a quality and comprehensive curriculum. It can be applied to learning and teaching in school settings.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย