การพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดสุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา

Main Article Content

กมลาศน์ ศรประสิทธิ์
ศิริชัย ชินะตังกูร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบสุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา 2) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบสุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา และ 3) ผลการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดสุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษา 120 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามข้อเท็จจริงแบบ Rubric Scale สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบสุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) บูรณภาพของสถาบัน 2) ภาวะผู้นำแบบมิตรสัมพันธ์ 3) ขวัญในการปฏิบัติงาน 4) การสนับสนุนทรัพยากร 5) ความสามารถในการแก้ปัญหา 6) ภาวะผู้นำแบบกิจสัมพันธ์ 7) การอยู่ร่วมกันของบุคลากร และ 8) การวางแผน

2. ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบสุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า องค์ประกอบทุกตัวมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบด้านความสามารถในการแก้ปัญหา โดยที่บูรณภาพของสถาบัน ภาวะผู้นำแบบมิตรสัมพันธ์ ขวัญในการปฏิบัติงาน และการสนับสนุนทรัพยากร ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และองค์ประกอบที่เหลือส่งผ่านขวัญในการปฏิบัติงาน

3. ผลการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดสุขภาพองค์การของโรงเรียนประถมศึกษา คือ ตัวแปรที่สังเกตได้ขององค์ประกอบการวางแผน บูรณภาพของสถาบัน ขวัญในการปฏิบัติงาน ภาวะผู้นำแบบมิตรสัมพันธ์ และภาวะผู้นำแบบกิจสัมพันธ์ ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ได้ดังนี้ Ytot = .516 + .286 (X8) + .197 (X1) + .183 (X3) +.132 (X2) + .099 (X6)

 

Abstract

The purposes of this research were to determine : 1) the components of the organizational health of the elementary school 2) the influence of components of organizational health and 3) the development of organizational health inventory for the elementary school. The samples were take from 120 elementary schools. The instruments for collecting the data were semi – structural interview and rubric scale of questionnaire. The statistics for analyzing the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis, path analysis and stepwise multiple regression analysis.

The results of this research found that :

1. The components of the organizational health of the elementary school were 1) institutional integrity 2) consideration 3) moral 4) resource utilization 5) problem - solving adequacy 6) initiating structure 7) personal affiliation and 8) planning.

2) The components of the organizational health of the elementary school were correlate to problem - solving adequacy : institutional integrity, consideration, moral and resource utilization affected to problem - solving adequacy and remainder transmited to moral.

3) Result of development of organizational health inventory for the elementary school were planning, institutional integrity, moral, consideration and initiating structure affected to problem - solving adequacy at .05 level of significance. The equation of regression analysis was Ytot = .516 + .286 (X8) + .197 (X1) + .183 (X3) +.132 (X2) + .099 (X6)

 

Article Details

Section
บทความวิจัย