การพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

โชติมา หนูพริก
สุเทพ อ่วมเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ทดลองใช้ระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ และประเมินระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูคณิตศาสตร์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเขต 1 โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจากโรงเรียนต้นแบบใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถามและแบบสังเกตในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 กระบวนการย่อย คือ 1) การพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน 2) การออกแบบการเรียนรู้ และ 3) การประเมินเพื่อการเรียนรู้ มีสาระสำคัญหลัก 5 ประการ ได้แก่ การให้ผลย้อนกลับกับนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ ยอมรับการประเมินผลที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจและเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน นำผลการประเมินมาปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน แรงจูงใจ และนักเรียนประเมินตนเองและเข้าใจถึงวิธีการปรับปรุง

2. ผลการทดลองใช้ระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ พบว่า ครูมีความรู้ด้านหลักสูตร อิงมาตรฐาน การเรียนการสอน และการประเมินเพื่อการเรียนรู้โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 28.00 และมีคะแนนพัฒนาการเป็นร้อยละ 85.45 มีทักษะในการประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี และมีความคิดเห็นที่ดีต่อระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สามารถนำระบบไปใช้เพื่อประเมินการเรียนรู้ รวมทั้งให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนานักเรียนและการจัดการเรียนการสอน นักเรียนมีความรู้ด้านเนื้อหาสาระคณิตศาสตร์ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดี

3. ผลการประเมินระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ พบว่า ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจและเห็นว่าระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ความเหมาะสม และมีความถูกต้อง ช่วยให้ครูมีการปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลให้มีความชัดเจน เป็นที่ยอมรับ และสามารถใช้ประเมินได้อย่างยุติธรรม และช่วยให้ครู นักเรียนมีการปรับปรุงและพัฒนาตนเองได้ตรงตามเป้าหมาย

 

Abstract

This research aimed to develop of assessment system in mathematics instruction, to implement, and to evaluate this assessment system. The sample consisting of mathematics teachers and seventh grade students, was purposively selected from the model schools implementing the Core Curriculum for Basic Education, Buddhist Era 2551. The research tools included a test, a questionnaire, and a classroom observation form. Quantitative data were analyzed by percentage ,mean , standard deviation whereas qualitative data were analyzed by the method of content analysis.

The research results showed as follows:

1. The assessment system in mathematics instruction which has been developed consisted of 3 subsystems including 1) standard based curriculum development 2) understanding by design and 3) assessment for learning containing 5 essential principles: efficiently giving feedback to students, accepting that evaluation or assessment may affect students’ motivation and self-value, revamping learning and instruction according to the results of evaluation or assessment, creating students’ motivation, and having students evaluate themselves and understand the ways to improve themselves.

2. The trial results of the system of evaluation of mathematics instruction consisted of 2 aspects as follows: For mathematics teachers, the average score of their knowledge about curriculum, learning and instruction, and learning evaluation equaled to 28.20 whereas percent of their knowledge development equaled to 85.45. Their skills in evaluation of mathematics instruction were at good level. They had positive attitude towards it. They were able to use the system of evaluation of mathematics instruction properly and could also know how to give appropriate feedback to their students to improve learning and instruction. For seventh grade students, they had more mathematics knowledge, and skills; moreover, their desirable characteristics were at good level.

3. The evaluation of the assessment system in mathematics instruction showed that both mathematics teachers and seventh grade students were satisfied with it sharing an opinion in that the generated system contains utility ,feasibility ,propriety and accuracy it could be helpful for teachers to improve measurement and evaluation process to be more clear-cut, better accepted, and fairer. Besides, the assessment system in mathematics instruction is able to help mathematics teachers and seventh grade students to improve and to develop themselves in more consistent with their aimed goals.

Article Details

Section
บทความวิจัย