การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง การบวกและการลบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 E

Main Article Content

อารีย์ สุขใจวรเวทย์
สุเทพ อ่วมเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง การบวกและการลบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 E 2) ศึกษาความสามารถในการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 E ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดหนองกลางด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 15 คน ใช้แผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและสอบหลัง

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้เรื่องการบวกและการลบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 E แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 E โดยภาพรวมทั้ง 7 E มีความสามารถอยู่ในระดับดี และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 E ในภาพรวมอยู่ระดับพึงพอใจมาก

 

Abstract

The purposes of this research were to : 1) compare learning outcome on adding and subtracting before and after being taught by the 7E learning cycle approach, 2) study the first grade students’ abilities taught by the 7E learning cycle approach and 3) study students’ satisfaction towards the application of the 7E learning cycle approach. The sample consisted of 15 students in the first grade class of Watnongklangdan School, Ratchaburi Education Service Area Office 2. Experimental design was the one group pretest posttest design.

The research finding revealed : 1) The learning outcome on adding and subtracting of first grade students before and after being taught by the 7E learning cycle approach were statistically significant different at the level of .05 where as the learning outcome after being taught by the 7E learning cycle approach were higher than before being taught by the 7E learning cycle approach, 2) Students’ abilities taught by 7E learning cycle approach in general were at a high agreement level and 3) Students’ satisfactions towards the 7E learning cycle approach were at a very high agreement level.

Article Details

Section
บทความวิจัย