การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาการ โดยใช้กลยุทธ์การปรับโครงสร้างองค์กรของฟูลแลนสำหรับครูประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ประไพ ธรมธัช นิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สำลี ทองธิว อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาการโดยใช้กลยุทธ์การปรับโครงสร้างองค์กรของฟูลแลนสำหรับครูประถมศึกษา และศึกษาคุณภาพของรูปแบบนี้ สำหรับสมรรถนะทางวิชาการที่เสริมสร้างให้กับครูในการวิจัยนี้ หมายถึง สมรรถนะต่อไปนี้ 1) สมรรถนะด้านการสอน ได้แก่ การออกแบบการสอน การดำเนินการสอน การประเมินผลการเรียนรู้ และ2) สมรรถนะด้านการเป็นผู้นำ ได้แก่ การสื่อสารผลงานเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและการทำงานเป็นทีม ดำเนินการพัฒนารูปแบบโดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปรับรูปแบบองค์กร การศึกษาภาคสนามเพื่อรวบรวมข้อมูลสภาพและปัญหา สมรรถนะทางวิชาการของครู จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาสร้างต้นร่างรูปแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาการของครูในส่วนที่ขาดหายไป และภายในกรอบการปรับรูปแบบองค์กร และนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบพิจารณาความเป็นไปได้ของรูปแบบ ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูประถมศึกษา จำนวน 24 คน ในโรงเรียนประถมศึกษา 3 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายที่เป็นครู ได้มาโดยวิธีเจาะจง เก็บข้อมูลพัฒนาการของสมรรถนะทางวิชาการของกลุ่มเป้าหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสังเกตการสอนสังเกตการดำเนินงานด้านการเป็นผู้นำ โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการบันทึกการปฏิบัติงานด้านการสอนและการเป็นผู้นำของครู ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์ ตีความสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยสรุปว่า 1. หลังการพัฒนาสมรรถนะที่ขาดหายไปของครู คือ สมรรถนะด้านการสอน ได้แก่ การประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน สมรรถนะด้านการเป็นผู้นำ ได้แก่ การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม พบว่า ครูกลุ่มเป้าหมาย มีสมรรถนะทางวิชาการด้านการสอน และการเป็นผู้นำในระดับดีมาก โดยสมรรถนะในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน อยู่ในระดับดี สมรรถนะด้านการสื่อสารในระดับดี และการทำงานเป็นทีมในระดับดีมาก 2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ โดยหลักการของรูปแบบ ได้แก่ การเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาการ ภายในกรอบการปรับสภาพสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร โดยใช้องค์กรโรงเรียนเป็นฐาน สำหรับวัตถุประสงค์ คือ การเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาการให้กับครูกลุ่มเป้าหมาย ส่วนที่ 2 กระบวนการเสริมสร้าง ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) สร้างเป้าหมายการพัฒนาสมรรถนะที่ขาดหายไปร่วมกัน 2) สร้างสรรค์สายสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 3) สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ4) สร้างกัลยาณมิตรทางการประเมิน 3. หลังการใช้รูปแบบ พบว่า ครูแสดงสมรรถนะทางวิชาการที่ขาดหายไปได้ และทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้

 

Abstract

The purposes of this research were to develop an academic competency enhancement (ACE) model adapting Fullan’s strategies for organizational restructuring for 24 elementary school teachers in purposively selected three elementary schools in Bangkok, and to study quality of the developed model. The academic competency expected from the involved teachers referred to competency in instructional management and academic leadership. This model was developed through researching the related documents, and through data on academic competency of the 24 teachers, obtained from fieldwork study. The quality of the model was certified by selected 5 academic experts in the field of curriculum and instruction. Qualitative data on academic competency enhancement of the twenty-four teachers were collected through participation observation with in-depth interviews, focus group interview, dialogue, and personal reflective journals techniques.

Research findings were as the followings:

1. The twenty-four teachers possessed academic competency under the instructional domain at the level 4, while possessed academic competency under the leadership domain at the level 3. The absence competency were leadership domains; communication at the level 3; and team-working at the level 4.

2. The Academic Competency Enhancement Model was initiated to enhance the absence competency of the 24 teachers, composed of the essential elements: a) rationale: restructure the cultural and actual work environmental so that to enhance the personnel to collaboratively and actively improve their academic competency; and objectives: the enhancement of the academic competency of the target teachers both on the instructional domain, and the leadership domain. The 4 strategies utilized emphasized on a) positive but quality supports from members in a small and tight-knitted teacher unit, b) the strategic plans emphasizing on caring goal sharing and caring-trust-respect performance with collaborative learning culture and c) school-based implementation for the restructuring of the learning and collaborative working culture.

3. After the model was implemented, the 24 teachers involved showed higher academic competencies in all three expectations and also affected their student learning improvement.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย