การสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการนิยาม/แนวความคิด และปัจจัยที่เสริมสร้าง กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ : การขับเคลื่อนจิตวิญญาณของผู้เรียนด้วยพลังทางการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • จุรีวรรณ จันพลา อาจารย์ โครงการจัดตั้งสายวิชาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เดชา ทวีไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการนิยาม/แนวความคิด และปัจจัยที่เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์: การขับเคลื่อนจิตวิญญาณของผู้เรียนด้วยพลังทางการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับนิยาม/แนวความคิด และปัจจัยที่เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยการสังเคราะห์การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 กลุ่มของแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ และการศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการสังเคราะห์พบว่า

1. ผู้เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีนิยาม/แนวความคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ดังนี้

“การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม อย่างสมดุล และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีเหตุผล”

2. ผู้เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้กำหนดปัจจัยที่เสริมสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในด้านต่างๆ ดังนี้

2.1 ปัจจัยด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การรู้จักและเข้าใจตนเองและผู้อื่น การมีจิตอาสา มีความสามารถในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสุขภาพทางสังคม เพื่อสร้างให้ผู้เรียนก้าวไปสู่การเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

2.2 ด้านผู้สอน ประกอบด้วยบทบาทในการเป็นผู้บริหารและบทบาทในการเป็นผู้สอน สร้าง

2.2.1 บทบาทในการเป็นผู้บริหาร ประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์และเข้าใจบริบท การเรียนรู้และสร้างศรัทธาเพื่อหาทีมงาน การบริหารงานด้วยความโปร่งใส เท่าเทียม และมีส่วนร่วม การทำงานในเชิงรุก และการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชน

2.2.2 บทบาทในการเป็นผู้สอน ประกอบด้วย การเป็นผู้จัดการการเรียนรู้ การเข้าใจและเข้าถึงนักเรียนอย่างถ่องแท้ ความทุ่มเท มุ่งมั่นและเอื้ออาทร การเป็นต้นแบบที่ดี การสร้างกระบวนการหล่อหลอมคนดี

2.3 ด้านครอบครัว ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมทั้งแบบเป็นทางการ โดยการศึกษาเชิงการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการมีส่วนร่วมแบบไม่เป็นทางการ โดยการสนับสนุนกิจกรรมให้เกิดผลและส่งข้อมูลป้อนกลับสู่โรงเรียน

2.4 ด้านสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย องค์การแห่งความผูกพัน สิ่งแวดล้อมที่ดี และหล่อหลอมแรงบันดาลใจ

2.5 ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ประกอบด้วย การให้การรับอย่างสมดุล และแหล่งการเรียนรู้นอกตำรา

โดยปัจจัยที่เสริมสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง 5 ปัจจัยข้างต้นต้องมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่เกื้อกูลและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยมีปัจจัยด้านผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

 

Abstract

Synthesis of knowledge about the definition / concepts and factors that reinforce learning process for developing spiritual of humanization: the driving spiritual of learners with educational power aim to synthesize knowledge about the definition / concepts and factors that reinforce learning process for developing spirit of humanization by synthesizing exchanging knowledge process management among 4 groups of mental developing plan for health and study of documents including related literatures. With content analysis, the result of synthesis found that:

1. Participants of exchanging knowledge process have definitions / concepts about knowledge process management for developing spirit of humanization as the following:

“Teaching and learning management in ways consistent with interest, competency and learners’ differences provide the physical, emotional, social, and intellectual balances and are able to rationally live with the others”.

2. Participants of exchanging knowledge process define factors that reinforce the knowledge process management for developing spirit of humanization as the following:

2.1 Factor in learners consisting of self- knowledge and of the others, having mind of volunteer, continuous learning, having a good physical and mental health, and also social health reinforce learners to step forward of being human who has physical, mental, social, and intellectual balances.

2.2 Factor in instructors consists of roles of being the management and the instructor.

2.2.1 Role of being the management consists of vision and understanding in context, learning and faith for team building, managing with lucidity and equality, participating in proactive working and building network including community involvement.

2.2.2. Role of being the instructor consists of being knowledge management, having clear understanding and access to learners, having dedication, intention, and generosity, being a good role model, and building the process to enlighten the good people.

2.3 Factor in family consists of formal participation by educational studying throughout life and informal participation by supporting activities for good result and feedback to school.

2.4 Factor in educational institution consists of commitment organization, good environment and inspiration forming.

2.5 Factor in social environment consists of harmoniously give and take, and untraditional learning sources.

Above 5 factors that reinforce knowledge management for developing spirit of humanization must be relevant in a way that support and interact with one another by having factor in learners as the center of reinforcing knowledge management for developing spirit of humanization.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย