การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความรู้เศรษฐกิจพอเพียงสู่เกษตรกรปลูกฝรั่งชมพู่คุณภาพ เพื่อแก้ไขความยากจนในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ลุยง วีระนาวิน
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัย (Research Methodology) แบบผสม (Mixed Methodology) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกฝรั่งและชมพู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ทำการศึกษาสภาวการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตในปัจจุบัน กระบวนการสื่อสารความรู้เศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงความต้องการความรู้ด้านต่างๆ ของเกษตรกร และการเปรียบเทียบความรู้การผลิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ศึกษากับพื้นที่อื่น ๆ ที่ใกล้เคียง โดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ระดับลึก และการสนทนากลุ่ม ส่วนในระยะที่ 2 เป็นการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการให้ความรู้ในการสร้างโอกาสและทางเลือกของเกษตรกรของผู้ปลูกฝรั่งและชมพู่ในจังหวัดนครปฐม เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรต่อไป ผลการวิจัยสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

1. สภาวการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตทางการเกษตรในปัจจุบัน พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีลักษณะของการทำการเกษตรในเชิงพาณิชย์และใช้พื้นที่ทำการเกษตรจำนวน 1 – 10 ไร่ สภาพการใช้สารเคมี ปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืชนั้นอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับเงินทุนที่ใช้ในการทำการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง 10,001 – 50,000 บาท ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนส่วนตัวและญาติพี่น้อง โดยส่วนใหญ่มีแหล่งวัตถุดิบ กิ่งพันธุ์ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชภายในท้องถิ่น การจัดจำหน่ายผลผลิตเป็นการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางและพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคาผลผลิต ในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงในการทำการเกษตรนั้น พบว่าส่วนใหญ่มีการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับปานกลาง

2. กระบวนการสื่อสารความรู้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร พบว่ามักจะสอดแทรกอยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของสมาชิกในชุมชน โดยสามารถแบ่งรูปแบบของการสื่อสารได้เป็น 2 รูปแบบ คือ การสื่อสารทางเดียว และการสื่อสารแบบสองทาง หากจะพิจารณาถึงสื่อที่ใช้ในการสื่อสารความรู้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ปลูกฝรั่งและชมพู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม จะพบว่ามีหลายสื่อ คือ สื่อบุคคล เสียงตามสาย สื่อสารมวลชน อย่างไรก็ตามการสื่อสารความรู้เศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรก็ยังไม่มีการกระจายไปสู่เกษตรกรในชุมชนมากนัก ส่วนใหญ่จะรู้กันเฉพาะในกลุ่มเท่านั้น

3. ความต้องการความรู้ของเกษตรกรในด้านต่างๆ และสภาพปัญหา พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่าความรู้ทางด้านการผลิตนั้นมีเพียงพออยู่แล้วในชุมชน โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตนั้นมีอยู่มากและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ควบคู่กับความรู้ใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ในส่วนของสภาพปัญหาที่เกษตรกรต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องนั้น พบปัญหาที่สำคัญๆ ได้แก่ (1) ปัญหาการตายต้นของต้นฝรั่ง (2) ปัญหาผลผลิตที่มีมากเกินกว่าความต้องการของตลาด (3) ปัญหาการไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจำหน่ายผลผลิต

4. การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ศึกษา (จ.นครปฐม) กับพื้นที่อื่น ๆ ที่ใกล้เคียง (จ.สมุทรสาคร) พบว่ากลุ่มเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน โดยกลุ่มเกษตรกร จ.สมุทรสาคร ส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในระดับปานกลางถึงสูง แต่กลุ่มเกษตรกร จ.นครปฐม ส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ระดับต่ำถึงสูง

5. การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อแก้ไขความยากจนของเกษตรกรผู้ปลูกฝรั่งและชมพู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม มีดังนี้ (1) การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การผลิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (2) การพัฒนาวิทยุชุมชนเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นชุมชน (3) การพัฒนารูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคลให้มีลักษณะของการสื่อสารแบบใช้สื่อผสม (Multi – Media Approach)

 

Abstract

This research employed a mixed methodology between quantitative and qualitative research, focusing on those guava and rose apple farmers in Nakhon Pathom province. Five following objectives were set up for the study including : (1) the production and management process, (2) the communication process of knowledge on Sufficiency Economy, (3) The farmers’ needs for knowledge on production and management as well as quality standard of product, (4) a comparision of farmers’ knowledge on Sufficiency Economy between Nakhon Pathom province. Area and its vicinity, and (5) the development of model for communication Sufficiency Economy knowledge to resolve the poverty situation in Nakhon Pathom province area. The finding were :

1. Most of the farmers planted guava and rose apple as commercial agriculture, having planting area around 1-4 acres, the use of chemical fertilizer and chemicals for pest control were moderately, and spent their own money as well as their relatives ’ for planting between 10,001-50,000 baht. Most of them possessed source of raw materials, propagated stocks. There were chemical fertilizer and chemical for pest control provided in local area. The middleman was one who set up the price of products. Most of the farmers applied the knowledge on Sufficiency Economy moderately.

2. The Sufficiency Economic knowledge usually induced their everyday life both in one and two ways process by person to person, public address announcement, and mass media.

3. Most farmers’ opinions toward production knowledge were sufficient especially the local wisdoms which could be applied spontaneously with new knowledge. Actually, the farmers did need help from the government concerning the decline of guava trees, the over production situation, and the reasonable prices.

4. There was a significant difference of knowledge on Sufficiency Economy between the farmers in Nakhon Pathom province and its vincity by which the vinicity was higher.

5. The development of a model for communication knowledge on sufficiency economy to resolve the poverty situation : a case study of guava and rose apple farmers in Nakhonpathom conclusion that (1) The establishment of Sufficiency Economy Learning Center should firstly initiated by those potential farmers and then becoming “A committee for the establishment of Sufficiency Economy Learning Centre project,” accompanied with supports from the corresponding officers concerned. (2) Developing a community radio program for the community should be undergone by selected potential farmers and then transfer this activity to the available community radio station. (3) Developing a model of interpersonal communication through the Multi - Media Approach should employ concurrently a variety of methods as applicable. This was to be sure that every medium worked harmoniously.

Article Details

Section
บทความวิจัย