การศึกษาการปฏิบัติงานตามบทบาทของพระวินยาธิการในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระธนวัฒน์ พรมเลิศ นักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาการปฏิบัติงานตามบทบาทของพระวินยาธิการในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทในปัจจุบันของพระวินยาธิการในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามบทบาทของพระวินยาธิการในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนส่วนบุคคลได้แก่ อายุ พรรษา ระดับการศึกษาแผนกสามัญ นักธรรมและบาลี ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งในทางคณะสงฆ์ การอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการ 3) ศึกษาปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงานตามบทบาทของพระวินยาธิการในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พระวินยาธิการประจำเขตการปกครองคณะสงฆ์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 272 รูป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระวินยาธิการประจำเขตการปกครองคณะสงฆ์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 162 รูป ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2552 - มกราคม 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การปฏิบัติงานตามบทบาทของพระวินยาธิการ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า กระบวนการสอบสวนมีระเบียบขั้นตอนอย่างโปร่งใส มีการยึดหลักพระธรรมวินัยกฎหมาย กฎมหาเถรสมาคมคำสั่งเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เป็นต้น อยู่ในระดับมากที่สุด 2) การปฏิบัติงานตามบทบาทของพระวินยาธิการ พบว่า อายุ พรรษา ระดับการศึกษาแผนกสามัญ ระดับการศึกษาแผนกนักธรรม ระดับการศึกษาแผนกบาลี ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งในทางคณะสงฆ์ การอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการ มีการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ตำแหน่งในทางคณะสงฆ์ มีการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ส่วนคู่อื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน

 

Abstract

The purposes of this research were. 1) To study the performance level of the police monks’ roles in Bangkok. 2) To compare the performance of the police monks’ roles in Bangkok by classifying according to personal factors such as ordination year, general education level, religious study and Pali study period of performance, position in the monastic order, training on procedures of the police monks. 3) To study problems and obstacles in performance of the police monks’ roles in Bangkok. The research populations were 272 police monks staying in the governing area of the monastic order in Bangkok. The samples were the 162 police monks staying in the governing area of the monastic order in Bangkok, derived from the two-stage random sampling. The data were collected during November 2009 to January 2010.The questionnaire, the profound interview and group discussion were applied as the research tool. The Statistics used for data analysis in this research were Frequency, Percentage, Mean, Standard deviation, t-test, One-way ANOVA, Stepwise Multiple Regression Analysis and Content Analysis.

The results of research revealed that 1) The performance of the police monk’s roles is in the high level. When considering in a particular item, it was found that, a transparent investigation procedure, holding to the Buddha’s laws, disciplines were and regulations of ecclesiastical court ordered by the Bangkok ecclesiastical Governor were in the highest level. 2) The performances of the police monks’ roles in Bangkok when classified according to personal factors such as study ordination year, general education level, education level of religious study and Pali period of performance, position in the monastic order, and training on performing procedures of the police monks were not different. 3) Problems and obstacles of the police monk’s performance in Bangkok when classified by position in the monastic order were statistically significant difference at 0.5 level.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย