ผลที่เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีต่อสุขภาวะทางสังคมของคนในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ธารทิพย์ ขาวผ่องอำไพ
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลที่เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีต่อสุขภาวะทางสังคมของคนในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ 2) เปรียบเทียบผลที่เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีต่อสุขภาวะทางสังคมของคนในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของโครงการ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อโครงการล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพการศึกษาในเชิงคุณภาพโดยใช้การวิจัยเอกสารและใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง สัมภาษณ์เชิงลึกกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของการดำเนินงาน จากกลุ่มตัวอย่าง 30 คนและบุคลากรผู้ที่มีส่วนร่วมของการดำเนินงาน 20 คน รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ เชิงเนื้อหาทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า นำเสนอข้อมูลในรูปวิธีพรรณนา ในส่วนของการศึกษาเชิงปริมาณนั้น ใช้กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของโครงการจำนวน 109 คนและนักท่องเที่ยวจำนวน 200 คน ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มกราคม 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สำหรับข้อคำถามปลายเปิด

ผลการวิจัยในเชิงปริมาณสรุปได้ดังนี้ 1) ผลที่เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีต่อคนในชุมชนเมื่อจำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน และภูมิลำเนา พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ เมื่อจำแนกตาม อายุ ลักษณะครัวเรือน และการมีส่วนร่วมพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ และ 2) ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่า มีความพึงพอใจในด้าน สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย การให้บริการ ราคาสินค้าและการจัดการ การคมนาคม และความคิดเห็นในภาพรวมของโครงการอยู่ในระดับมาก

ผลการวิจัยในเชิงคุณภาพสรุปได้ดังนี้ 1) ด้านสุขภาพ ผลเชิงบวก พบว่าคนในชุมชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารด้านการดูแลสุขภาพ จากการได้รวมกลุ่มพูดคุยกันและจากการแลกเปลี่ยนความรู้กับนักท่องเที่ยว ส่งผลทำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักในการดูแลรักษาสุขภาพกันมากขึ้น ผลเชิงลบพบว่า ชุมชนได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยซึ่งยังไม่ส่งผลที่ทำให้คนในชุมชนรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง 2) ด้านสังคม ผลเชิงบวก พบว่าคนในชุมชนมีการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ มีฝีมือในการประกอบอาชีพมากขึ้น มีระบบสาธารณูปโภคที่สะดวกมากขึ้น และมีความสัมพันธ์ในครอบครัว/ชุมชนมากขึ้น ส่งผลให้เกิดเป็นชุมชนเข้มแข็งในเรื่องการลดอัตราการย้ายถิ่นปัญหาอาชญากรรม อบายมุข ปัญหาความขัดแย้ง พบว่าเกิดขึ้นน้อยมาก ผลเชิงลบพบว่า เกิดปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคในเรื่องการมุ่งพัฒนาเฉพาะพื้นที่ ในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน มักจะดำเนินการในพื้นที่ที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่ในพื้นที่ที่ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยวกลับได้รับการพัฒนาน้อยประชาชนบางกลุ่มจึงเกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรม 3) ด้านวัฒนธรรม ผลเชิงบวก พบว่าช่วยส่งเสริม/พัฒนา/ฟื้นฟู ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความรู้สึกหวงแหนและสำนึกรักบ้านเกิดให้กับคนในท้องถิ่นมากขึ้นไม่ได้ส่งผลให้เกิดการเลียนแบบวัฒนธรรมจากนักท่องเที่ยว วัฒนธรรมประเพณีไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเพื่อการค้า ผลเชิงลบ พบว่าเกิดขึ้นน้อยมากและยังไม่มีประเด็นใดที่เห็นได้เด่นชัด 4) ด้านเศรษฐกิจ ผลเชิงบวก พบว่าเกิดกระจายรายได้สู่ชุมชน คนในชุมชนมีรายได้จากอาชีพเสริมจากการท่องเที่ยว สินค้าเกษตรจำหน่ายได้มากขึ้นมีการพัฒนา/เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น ผลเชิงลบพบว่า การกระจายรายได้สู่ชุมชนยังไม่ทั่วถึงจะมีรายได้เฉพาะบุคคลกลุ่มที่เข้ามามีส่วนร่วมเท่านั้น 5) ด้านสิ่งแวดล้อม ผลเชิงบวก พบว่าระบบการจัดการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพมากขึ้นคนในชุมชนให้ความสนใจในการอนุรักษ์ และรักษาสภาพภูมิทัศน์ให้ดีขึ้น จนเกิดเป็นการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลเชิงลบพบว่าสภาพภูมิทัศน์เดิมของชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไป

 

Abstract

This research aims 1) to study impacts of Agro-tourism on social well-being on Mahasawat Canal community; 2) to compare impacts of Agro-tourism on social well-being on Mahasawat Canal Community when considering personal factors of people living in the area of interest; and 3) to study the level of satisfaction of tourists with the Mahasawat Canal boat ride project. The research method is both quantitative and qualitative. Documents were collected. Unstructured, in-depth interviews were conducted with people living in the project area, 30 of which are the sample group and 20 of which are the personnel working on the project. In addition, participant observations and information analysis , Triangulation Method with the use of descriptive method were conducted. As for the quantitative study, 109 people living in the project area and 200 tourists were the sample groups. Data were collected during November-December 2008. The research instruments were questionnaires. Analysis of the data included frequency distribution, percentage, means, standard deviation, t-tests, one-way ANOVA, paired difference tests using Least Significant Difference method and content analysis for open ended questions.

The results of research revealed that : 1)When gender, educational level, occupation, income, duration of a person living in the community, and background were considered, no difference was found. When age, family status and participation were considered, statistic difference was found at .05. 2)As for the level of satisfaction, it was discovered tourists were happy with location, facilities security, services, product prices, management and transportation. Tourists’ overall opinions about the project were high.

It was found that there were five positive and negative impacts of Agro-tourism on social well-being on Mahasawat Canal community. 1) Positive physical impact – The community received health care information from conversation between themselves and with tourists. As a result, they are more aware of their health. The negative impact was so low that the community did not feel the change. 2) Social impact – The positive impact was personal development of the community which gained more knowledge and vocational skills, better-equipped infrastructure and better family/community relationships. Relocation, crime, drug abuse and conflict problems were at lower levels. As for the negative impact, biases were found when it came to specific area and facilities development and infrastructure construction: most development projects went to the tourist area while other areas were left undeveloped. 3) Cultural impact – The positive impacts were local wisdom promotion/development/restoration, a sense of belonging to the community, which do not try to change its culture and traditions for commercial purposes. No significant negative results were found. 4) Economic impact – The positive impact was income generation among the community: local people have more income from tourism, agricultural product selling and local product development/value addition. The negative impact was income disparity. 5) Environmental impact – The positive impacts were more efficient environmental management, more local awareness about environmental preservation and more environmentally friendly tourism. The negative impact was that the landscape was changed.

Article Details

Section
บทความวิจัย