พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการวิถีพุทธ สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2

Main Article Content

พระครูสังฆรักษ์จรัญ จุ่นดีวงษ์
ลุยง วีระนาวิน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการวิถีพุทธ สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการดำเนินงานตามแนววิถีพุทธที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 41 โรงเรียน นักเรียนจำนวน 354 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และการสุ่มแบบสองขั้นตอน ดำเนินการเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนธันวาคม 2552 - เดือนกุมภาพันธ์ 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามการดำเนินงานตามแนวโรงเรียนวิถีพุทธ และแบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t- test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อคำถามปลายเปิด

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับสูง 2) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในภาพรวมแตกต่างกัน นักเรียนที่มีเพศแตกต่างกันมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ด้านความซื่อสัตย์, ด้านความมีน้ำใจเสียสละ, ด้านความประหยัด, ด้านความสามัคคี และด้านความยุติธรรม แตกต่างกัน นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ด้านความรับผิดชอบ, ด้านความซื่อสัตย์ และด้านความยุติธรรมแตกต่างกัน นักเรียนที่มีอาชีพของมารดาต่างกัน มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ด้านความยุติธรรมแตกต่างกัน และนักเรียนที่มีรายได้ของบิดา-มารดาต่างกัน มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ด้านความมีน้ำใจเสียสละแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การดำเนินงานตามแนววิถีพุทธ สามารถทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนพบว่า ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต ได้รับคัดเลือกเข้าสมการเป็นลำดับที่ 1 ส่วนด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ได้รับคัดเลือกเข้าสมการเป็นลำดับที่ 2 และด้านกายภาพ ได้รับคัดเลือกเข้าสมการเป็นลำดับที่ 3 สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ร้อยละ 39.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังสมการ

Yˆ = 1.304 + .237(Xด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต) + .281(Xด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์) + .146(Xด้านกายภาพ)

และ Zˆ = .257Z (Xด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต) + .286Z (Xด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์) + .159Z (Xด้านกายภาพ)

 

Abstract

The purposes of this research were “Ethical Behavior of Prathomsuksa Six Students in Buddhist School Project on Basic School under the Office of Nakhonpathom Educational Service Area 2” were 1) To study ethical behavior of students 2) To compare ethical behavior of students with different personal factors 3) To study the operations of Buddhist school factors influencing in the ethical behavior of students The sample were 354 Prathomsuksa 6 students in 41 schools under the Office of Nakhonpathom Educational Service Area 2. The samples were derived by stratified random sampling and two-stage random sampling. The data was collected during December 2009 to February 2010. The instrument used in the research consisted of 1) a questionnaire with personal factors 2) a questionnaire with the operations of Buddhist school factors and 3) a questionnaire with the ethical behavior. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, stepwise multiple regression and content analysis.

The results of research revealed that: 1) The ethical behavior levels of students was at a high level. 2) The ethical behavior levels of students with different personal factors were found that male and female were different in honesty, devotion, economize, harmonious and justice, who have different grade were different in responsibility, honesty and justice, who have different mother’s career were different devotion had significance differences at the .05. 3) The operations of Buddhist school factors were found that the activity of school lives was selected by ranking no.1, the school climate and interaction was selected by ranking no.2 and the school physical was selected by ranking no.3 The activity of school lives, school climate and school physical can be predict predicted to operation effectively in students’ ethical behavior at 39.0 % had significance differences at the .01 as follows :

Yˆ = 1.304 + .237(Xtheschoollives) + .281(Xt) + .146(Xtheschoolphysical)

And Zˆ = .257Z (Xtheschoollives) + .286Z (Xheschoolclimate) + .159Z (Xtheschoolphysical)

Article Details

Section
บทความวิจัย