สภาพการจัดการความรู้ของศูนย์การเรียนชุมชน เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้

ผู้แต่ง

  • นัฏฐา มณฑล นักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ภัทรพล มหาขันธ์ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. ภาควิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมและมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้ของศูนย์การเรียนชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการความรู้ของศูนย์การเรียนชุมชนจำแนกตามจังหวัดที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ประชากร คือ ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 1,509 ศูนย์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 154 ศูนย์ การกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ประมาณ 10% และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ประธาน กรรมการ และครูศูนย์การเรียนชุมชน และกรณีศึกษาศูนย์การเรียนชุมชนยาง และศูนย์การเรียนชุมชนกันตวจระมวล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบใช้วิธีวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way - ANOVA) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการความรู้ของศูนย์การเรียนชุมชน ในภาพรวมและรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การจัดการความรู้ในกลุ่มผู้เรียน การจัดการความรู้ในศูนย์การเรียนชุมชน และการจัดการความรู้ในชุมชน 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการความรู้ของศูนย์การเรียนชุมชน จำแนกตามจังหวัด ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD พบว่า จังหวัดอุบลราชธานี มีสภาพการจัดการความรู้แตกต่างกับจังหวัดอื่น

 

Abstract

The purposes of this research were to 1) study the implementations of KM in Community Learning Centers in southern area of the north-eastern region. 2) compare the KM classified by province, location of the community learning centers. Unit of analysis were the community learning centers. Respondents consisted of Chairman committee and teacher of community learning centers in 1,509 community learning centers in 6 provinces. The sample groups were 154 community learning centers which is selected by simple random sampling approach. Case studies of Yang Community Learning Centers and Kantradramaul Community Learning Centers were conducted. The research instruments were questionnaires and interview form. Statistically used were percentages, mean, standard deviation , One Way ANOVA and content analysis.

The results revealed that: 1) Implementations of KM of Community Learning Centers was at a high level. When considering levels of KM of Community Learning Centers in each aspects ranking from the highest to the lowest level, the result was as follows : KM by students, KM in Community Learning Centers, and KM in community. 2) The comparison of implementations of KM of Community Learning Centers classified by province were statistically significant difference at the level .05. Implementations of KM of Ubon Ratchathani was province difference from other provinces in analyzing by LSD comparison.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย