การพัฒนาหนังสือนิทาน เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ

ผู้แต่ง

  • ศุภศิริ บุญประเวศ นักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • บุษบา บัวสมบูรณ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยได้พัฒนาหนังสือนิทาน เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน และ หนังสือนิทานมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา จำนวน 4 เล่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือนิทานเพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.31/84.89 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยหนังสือนิทาน เพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา ของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน ทั้งนักเรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือนิทานเพื่อเพิ่มทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ทั้งนักเรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

Abstract

This study aimed to develop children’s tales in order to help Prathomsuksa 2 students at Saint Gabriel’s School, Bangkok to learn spellings of words in the exception lists. The research instruments were 6 lesson plans and 4 tales concerning spellings of words in the exception lists. The research results were: 1) The efficiency index was 88.31/84.89; 2) The participants’ scores on the posttest were significantly higher than those on the pretest with the statistical significance level of .05 and 3) The participants’ attitude towards learning spelling of words in the exception lists wish tales was highly positive.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย