การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นภาระงานและแนวทางการเรียนรู้ภาษาเพื่อความรู้ความเข้าใจทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิชาการ และกลยุทธ์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี (The Development of Task–based and Cognitive Academic Language Learning Approach: CALLA English Reading Instructional Model to Enhance Academic Reading Skills and Learning Strategies for Undergraduate Students)

Main Article Content

ทัศนีย์ จันติยะ (Tassanee Juntiya)
วิสาข์ จัติวัตร์ (Wisa Chattiwat)

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นภาระงานและแนวการเรียนรู้ภาษาเพื่อความรู้ความเข้าใจทางวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิชาการและกลยุทธ์การเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 จำนวน 34 คน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบ แบบฝึกการอ่าน คู่มือรูปแบบการสอน แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ  แบบวัดกลยุทธ์การเรียนรู้ บันทึกการอ่าน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอน ผลการวิจัย พบว่า 1.รูปแบบ มีชื่อว่า  “PPPTE Model” และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.34/82.03 2.ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 2.1) หลังเรียนนักศึกษามีความสามารถในการอ่านเชิงวิชาการ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) นักศึกษามีการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 2.3) หลังเรียนนักศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก


Abstract


                   The purposes of this research were to: 1) develop the task-based and cognitive academic language learning approach: CALLA English reading instructional model to enhance academic reading skills and learning strategies for undergraduate students and 2) study the effectiveness of the  model . The samples comprised 34 junior students at Education and Development Sciences Faculty, Kasetsart University during the second semester of the academic year 2015. Research instruments consisted of the English instructional model, reading exercises, a handbook for the model, lesson plans, an academic reading test, a learning strategies assessment form, a reading log and a questionnaire. The results were as follows: 1) The model called “PPPTE Model”. The efficiency of this model was 80.34/82.03. 2) The effectiveness of the model indicated that 2.1) after using the model, the students’ academic reading skills were higher than before receiving the instruction at a .01 significance level, 2.2) the students’ learning strategies were increased from a moderate level to a high level, and 2.3) the students had opinion toward learning activities of the model at the high level.


 


 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ทัศนีย์ จันติยะ (Tassanee Juntiya)

Lecturer/ Teacher Education Department, Education and Development Sciences Faculty, Kasetsart University