การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (The Development of Critical Thinking Skills Using Research-Based Learning of Matthayomsuksa 5 Students)

ผู้แต่ง

  • วิเชียร ภคพามงคลชัย (Wichian Phakhaphamongkholchai) 565 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
  • อรพิณ ศิริสัมพันธ์ (Orapin Sirisamphan)

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, การสอนเศรษฐศาสตร์, ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

The Development of Critical Thinking Skills Using Research-Based Learning

of Matthayomsuksa 5 Students

บทคัดย่อ

                        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวิจัย และระยะที่ 2 การทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยทดลองใช้เครื่องมือวิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แผนการจัดการเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน 3 หน่วยการเรียนรู้ 12 ชั่วโมง และแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent)        

                        ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพิจารณาค่าเฉลี่ยทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 2.53 2.53 2.60 และ 2.68 ตามลำดับ

Abstract

                        The purpose of this research were to compare the critical thinking skills of Matthayomsuksa 5 students before and after they studied research-based lessons The sample used in this research was 40 Matthayomsuksa 5 students. The research was divided into 2 phases which the first phase was the development of research instruments and the second phase was the learning activities trials. The instruments used in the study were 3 unit plans for total 12 hours. The other research instruments were a critical thinking skill test. The collected data was analized by using mean  standard deviation (S.D.) and t-test for dependent.

                        The research results revealed that the critical thinking skills of students after the use of research-based learning was higher with statistical significance at .05. The average from the 5 times assessment of critical thinking skills in economics were 2.80 , 2.53 , 2.53 , 2.60 and 2.68 respectively.

เผยแพร่แล้ว

2019-02-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย