การบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ JiPP เพื่อส่งเสริมทักษะของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี (Using JiPP Model for School Administration to Promote Student Learning Skills in the 21st Century ; a Case Study at Wat Kokthong School Ratchaburi)

Main Article Content

พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ (Phornsak Sucharitrak)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ JiPP เพื่อส่งเสริมทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่ต่อกระบวนการบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ JiPP เพื่อส่งเสริมทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี และ3)  ศึกษาระดับคุณภาพทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี ประชากรคือ โรงเรียนวัดโคกทองวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี  โดยมีผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการ หัวหน้าวิชาการ ครูผู้สอน และนักเรียนจำนวน 124 คน ใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 97 คน  ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ 1 คน หัวหน้าวิชาการ 1 คน และครูผ้สอน 6 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ส่วนนักเรียน 89 คน ได้มาจากสุ่มอย่างง่ายตามสายชั้น  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ประเภท ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินผลทักษะผู้เรียนตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ dependent


                   ผลการวิจัย พบว่า  1. กระบวนการบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ JiPP เพื่อส่งเสริมทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี พบว่ามี 4 ขั้นตอน 1) การวางแผน ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับจิตศึกษา/ชุมชนแห่งการเรียนรู้/การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และกำหนดเป้าหมายองค์กร 2) การดำเนินกิจกรรม ได้แก่ การที่ผู้บริหาร/ประธานกรรมการสถานศึกษา/ครู อบรมและศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบด้านจิตศึกษา การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  ครูออกแบบ/พัฒนารูปแบบจิตศึกษา/ชุมชนแห่งการเรียนรู้/การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การจัดกิจกรรมจิตศึกษา/ชุมชนแห่งการเรียนรู้/การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  การกำหนดปฏิทินแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) การสร้างวิถีชุมชนในโรงเรียน 3) การติดตามประเมินผล ได้แก่ กำหนดปฏิทินการนิเทศ การสังเกตการเปลี่ยนแปลง และเก็บหลักฐานการพัฒนา 4) การนำผลที่ได้ไปปรับปรุง/พัฒนา ได้แก่ คณะครูนำผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป ผู้บริหารและคณะครูร่วมกันขยายผล


                   2. ความพึงพอใจของครูที่ต่อกระบวนการบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ JiPP เพื่อส่งเสริมทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก


                   3. ระดับคุณภาพทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี พบว่า  ค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพหลังใช้กระบวนการบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ JiPP อยู่ในระดับพอใช้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนระดับคุณภาพ พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพทักษะหลังใช้สูงกว่าก่อนใช้กระบวนการบริหารสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ JiPP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 

Article Details

Section
บทความวิจัย