การเปรียบเทียบการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ความคลาดเคลื่อนที่เกี่ยวกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดชัยภูมิ (Comparisons of Views on the Nature of Science, Misconceptions about the Nature of Science, and the Philosophy of Science as Perceived by Teachers and Mathayomsuksa 5 Students in Chaiyaphum Province)

Main Article Content

วิษณุ สุทธิวรรณ (Witsanu Suttiwan)
บุษรา ยงคำชา (Butsara Yongkhamcha)
จีระพรรณ สุขศรีงาม (Jeeraphan Suksringam)

Abstract


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ การรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของ ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 89 คน ที่มีเพศ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่สอนแตกต่างกัน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1,102 คน ที่มีเพศแตกต่างกันที่เรียนกับครูวิทยาศาสตร์เพศชายและเพศหญิงจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ ประจำปีการศึกษา 2559 โดยครูวิทยาศาสตร์ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอนแบบแบ่งชั้น และนักเรียนเลือกจากห้องเรียนที่ครูวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 เพศสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 3 ด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ F-test (One – way MANOVA และ Two - way MANOVA)


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ครูวิทยาศาสตร์โดยส่วนรวม ครูเพศชาย ครูเพศหญิง ครูฟิสิกส์ ครูเคมี และครูชีววิทยาจำนวนน้อย มีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับเห็นด้วยมากถึงมากที่สุดโดยครูวิทยาศาสตร์จำนวนมากถึงมากที่สุดมีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์มากที่สุด 3 ข้อ ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่สอนต่อการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์การรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยส่วนรวม นักเรียนเพศชาย และนักเรียนเพศหญิง จำนวนน้อยมีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยนักเรียนจำนวนมากถึงมากที่สุดมีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์มากที่สุด 3 ข้อ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพศชายมีการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์มากกว่านักเรียนหญิง แต่นักเรียนทั้ง 2 เพศมีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน 3) นักเรียนเพศชาย นักเรียนเพศหญิง และครูวิทยาศาสตร์เพศชาย มีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และปรัชญาวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้นักเรียนเพศชาย นักเรียนเพศหญิง และครูวิทยาศาสตร์เพศหญิง มีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน แต่ครูวิทยาศาสตร์เพศหญิงมีการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์มากกว่านักเรียนเพศชายและนักเรียนเพศหญิง


ABSTRACT


                        This research aimed to study and compare perceptions of the nature of science, misconceptions about the nature of science, and perceptions of philosophy of 89 science teachers with different sexes and science subjects taught and Mathayomsuksa 5 students with different sexes who learned science with male and female science teachers who worked at senior high school in the academic year 2016 in Chaiyaphum province. The science teachers were selected using the multi-stage stratified random sampling technique and the students were selected based on the classes being taught by the selected science teachers. The rating-scale questionnaire was used for data collecting which consisted of 3 subscales. The collected data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and for testing hypotheses the F-test (one – way MANOVA and two – way MANOVA) was employed.


                The major findings were as follows : 1) The small number of science teachers as a whole and as classified according to sex and science subjects taught showed perceptions of nature of science, misconceptions about the nature of science and the philosophy of science at the more to the most level. The large number to the largest of all groups of science teachers indicated misconceptions about the nature of science at the most level in 3 items. There were no interactions of sex with science subjects taught on perceptions of the three areas as mentioned earlier. 2) The small number of Mathayomsuksa 5 students as a whole and as classified according to sex showed perceptions of the nature of science, misconceptions about the nature of science, and philosophy of science at a more level. The large to the largest number of students showed misconceptions about the nature of science at most level in 3 items. Male students showed more perceptions of philosophy of science than female students. But male students and female students did not evidence different perceptions of the nature of science and misconceptions about the nature of science. 3) Male students, female students and male science teachers did not evidence different perceptions of the nature of science, misconceptions about the nature of science, and philosophy of science. Male students, female students and female science teachers did not showed different perceptions of the nature of science and misconceptions about the nature of science. But female science teachers showed perceptions of philosophy of science than male students and female students.


Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

วิษณุ สุทธิวรรณ (Witsanu Suttiwan), นายวิษณุ สุทธิวรรณสำนักงานคณบดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิต.นาฝาย อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ 36000

สำนักงานคณบดี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ