การวิจัยอนาคตการฝึกนักศึกษาวิชาทหารเพื่อสร้างพลเมืองของกองทัพบกไทย (Future Research of the Thai Reserve Officer Training Corps Student for Civic Education of the Royal Thai Army)

ผู้แต่ง

  • ดลฤดี วาสนานนท์ (Dolruedee Wasananon) veterinary and remount department
  • คณิต เขียววิชัย (Kanit Kheovichai)

คำสำคัญ:

การวิจัยอนาคต, การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร, การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง, กองทัพบกไทย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการฝึกนักศึกษาวิชาทหารเพื่อสร้างพลเมืองของกองทัพบกไทย โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 นาย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า

ภาพอนาคตเชิงบวกของการฝึกนักศึกษาวิชาทหารเพื่อสร้างพลเมืองของกองทัพบกไทย ได้แก่ การจัดทำนโยบายการฝึกนักศึกษาวิชาทหารให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและอนาคต, วัสดุอุปกรณ์และสถานที่มีความพร้อมรวมถึงเนื้อหาวิชาทหารก็มีความเหมาะสม, มีคุณลักษณะของนักศึกษาวิชาทหารที่ดี, มีทัศนคติที่ดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และกองทัพบกไทย รวมถึงการส่งเสริมให้นักศึกษาวิชาทหารเป็นมวลชนที่เข้มแข็งของกองทัพ

ภาพอนาคตเชิงลบของการฝึกนักศึกษาวิชาทหารเพื่อสร้างพลเมืองของกองทัพบกไทย ได้แก่ การฝึกนักศึกษาวิชาทหารต้องมีความเสมอภาค, มีสิทธิเสรีภาพ, มีความแตกต่างระหว่างบุคคลทางสังคม และไม่สามารถปฏิบัติตามหลักศาสนา

ภาพอนาคตด้านความเป็นไปได้ของการฝึกนักศึกษาวิชาทหารเพื่อสร้างพลเมืองของกองทัพบกไทย ได้แก่ การฝึกนักศึกษาวิชาทหารให้มีการเคารพผู้อาวุโส, มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือวินัยทหารและรู้หน้าที่, มีส่วนร่วมในสังคม, รู้จักการเสียสละ และสามารถปฏิบัติตามหลักศาสนา

References

กรมการสัตว์ทหารบก. (2560). “คำสั่งศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร กรมการสัตว์ทหารบก ที่ 4/2560 เรื่องโครงการ รด.จิตสีขาว ประจำปีการศึกษา 2560”. 22 มิถุนายน.
กรมการรักษาดินแดน. (2528). ระเบียบกรมการรักษาดินแดน พ.ศ. 2528. กรุงเทพมหานคร: กรมการรักษาดินแดน กระทรวงกลาโหม.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกริกชัย เริญไธสง และนพพร จันทรนําชู. (2558). “แนวทางการพัฒนาวัดตามมาตรฐานของสํานักงานพระพุทธศาสนาแหงชาติในจังหวัดนครปฐม”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตรวิจัย 7 (2):
207-218.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2548). “อนาคตศึกษาและการวิจัยอนาคต”. รัฐสภาสาร 30 (7): 66-70.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2559). การวิจัยเชิงอนาคต. เอกสารประกอบการบรรยาย. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. (2549). นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อเด็กและเยาวชนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ และปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง: Civic Education. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ฐานบัณฑิต จำกัด.
เชี่ยวชาญ ภาระวงค์. (2560). เทคนิคเดลฟาย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2560. จาก https://123get-all.blogspot.com/2013/09/delphi-technique.html.
ตระการ แสนแก้ว. (2559). การมีระเบียบวินัยในชีวิต. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2559. จาก https://www.acn.ac.th/articles/mod/forum/discuss.php?d=126.
ตุลา แฉ่งฉายา และอภินภัศ จิตรกร. (2561). “การพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะร่วมกันจากการฟังนิทานเพื่อส่งเสริมการเป็นพลเมืองดีของผู้เรียนระดับปฐมวัยด้วยค่านิยม 12 ประการ”.
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 10 (1): 225-237.
ไทยรัฐออนไลน์. (2559). ผบ.ทบ.ปลุก นศท.รณรงค์ ปชช.ใช้สิทธิ์ประชามติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559. จาก https://www.thairath.co.th/content/579305.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: วี อินเตอร์ พริ้นท์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
เปรม ติณสูลานนท์. (2527). ประมวลสุนทรพจน์ พ.ศ. 2527 ของฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ กิจการพิเศษทำเนียบรัฐบาล.
ไพบูลย์ เกียรติโกมล และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ภูเบศวร์ ธรรมบุตร, พันโท. (2552). การประเมินโครงการฝึกนักศึกษาวิชาทหารของหน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จังหวัดทหารบกสกลนคร ค่ายกฤษณ์สีวะรา อำเภอเมืองสกลนคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มติชนออนไลน์. (2559). บิ๊กหมูปลุก นศท. รณรงค์ปชช.ลงประชามติร่าง รธน. ลั่นสร้างความรับรู้ ไม่ใช่ชี้นำ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559. จาก https://www.matichon.co.th
/news/42694.
มณีรัตน์ ปิ่นวิเศษ. (2550). ชีวิตและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอมพันธ์จำกัด.
มยุรี ฐานมั่น. (2553). พฤติกรรมความมีระเบียบวินัยของนักศึกษาวิชาทหาร หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จังหวัดทหารบกสระแก้ว. งานนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ์. (2555). หลักการและเทคนิคการเขียนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และรายงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โฟร์เพซ บริษัท ก้าวใหม่ จำกัด.
สุพัตรา จิตตเสถียร. (2553). “การแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางการเมืองของไทย: พบทางตันจริงหรือ”. วารสารสถาบันพระปกเกล้า 8 (1): 28-38.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2559). โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย: Thailand Library Integrated System. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2559. จาก
https://www.tdc.thailis.or.th/.
ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหารมณฑลทหารบกที่ 21. (2560). วินัยทหาร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2560. จาก https://www.rtckorat.org/download/pdf/exam/discipline-
tradition.pdf.
หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. (2559). “คำสั่งกองทัพบกที่ 86/2559 เรื่องการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ประจำปี 2559”. 9 มีนาคม.
หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. (2560). “ภารกิจ รด.จิตอาสา”. วารสารรักษาดินแดน (ฉบับพิเศษ): 2.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). “การศึกษาตัวบ่งชี้และพัฒนาโมเดลการวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 8 (1):
63-76.
Allen, Elaine I. and Christopher, A. Seaman. (2007). “Statistics Roundtable: Likert Scales and Data Analyses”. Quality Progress 7 (July): 64–65.
Allyn and Bacon. (1998). Research in education/ John W. Best, James V. Kahn. 8th ed. the United States of America: A Viacom Company.
John, W. Best. (2006). Research in education Tenthedition John W. Best, James V. Kahn. 10th ed. the United States of America: Pearson Education Inc.
Warner, Rebecca M. (2012). Applied Statistics: From Bivariate Through Multivariate Techniques. 2nd ed. India: SAGE.

เผยแพร่แล้ว

2019-07-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย