การส่งเสริมความพร้อมการดำเนินงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (An Operational Preparation for Lifelong Learning in The Digital Community Centers)

Main Article Content

ดิษฎาพันธ์ บุตรกุล (Didsadaphan Butkul)
ศิริณา จิตต์จรัส (Sirina Jitcharat)

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพร้อมในการดำเนินงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) วิเคราะความพร้อมด้านพื้นที่ตั้งและความพร้อมด้านทักษะ ICT ของผู้ดูแล  และ 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการดำเนินงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชนฯ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ จำนวน 440 ฉบับ รวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับผิดชอบศูนย์ฯ และผู้รับบริการ และมีผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ที่คัดเลือกมาเพื่อการวิพากย์ผล สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ, gif.latex?\bar{x}, S.D. และเปรียบเทียบโดยใช้ t-test การวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจกับความพร้อมในการดำเนินการของศูนย์ฯ ในระดับดีมาก (3.12, 4.13) ผู้รับผิดชอบศูนย์ฯ ให้ความสำคัญกับบุคลากร ลักษณะสถานที่ตั้ง การมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดการและการประสานงาน ภูมิปัญญาและอาชีพ ในขณะที่ผู้รับบริการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ลักษณะสถานที่ตั้ง การจัดการและการประสานงาน บุคลากร ภูมิปัญญาและอาชีพ ตามลำดับ 2) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมทางด้านพื้นที่ตั้งกับความพร้อมทางด้านทักษะ ICT ของผู้ดูแล 3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชนฯ ควรเข้าถึงชุมชน มีโครงสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐาน มีทรัพยากรบุคคลและสารสนเทศ และมีการประสานองค์ความรู้และความสัมพันธ์กับสมาชิกภายในชุมชน


The purposes of this study are 1) to study the Operational Preparation (OP) of the life long learning in the Digital Community Centers (DCCs) 2) to analyze OP in their location and that in the staffs' ICT skill, 3) to propose a set of recommendation for promoting OP in the DCCs. 440 questionnaires were collected from DCC administrators and their consumers, and the finding was reviewed by 7 selected experts. Percentage, standard deviation and t-test were used throughout the analysis. The finding reveals that 1) the population satisfy the OP of their DCC (3.12, 4.13). The administrators see the importance of their personals, site features, community participation, cooperation and management, occupations and intellects; while the consumers prioritize community participation, site features, cooperation and management, personals, occupations and intellects respectively. 2) there is no relation between OP in DCC location and that in staffs' ICT skill. 3) DCCs should be accessible, acquire basic infrastructure, provide ICT and support, and maintain knowledge and cooperation among members in the community.

Article Details

Section
บทความวิจัย