การออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี: การวิเคราะห์การอยู่รอด /Kanchanaburi Rajabhat University Student’s Drop out: Survival Analysis

Main Article Content

ชุติมา ใจคลาย
กิตติมา พฤกภูษณ

Abstract

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฟังก์ชันการอยู่รอด มัธยฐานระยะเวลาการอยู่รอด  อัตราเสี่ยงอันตราย เพื่อเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอด และเพื่อศึกษาโมเดลของฟังก์ชันความเสี่ยงอันตราย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2547 จำนวน 587 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นข้อมูลสำหรับการวิจัยได้จากสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า ภาคการศึกษาที่ 1 เป็นช่วงเวลาที่มีอัตราความเสี่ยงอันตรายสูงสุด โดยมีอัตราความเสี่ยงเท่ากับ 0.2157 นักศึกษาอยู่รอดได้นานกว่าภาคการศึกษาที่ 1 เท่ากับ 78.43 % และไม่สามารถแสดงมัธยฐานระยะเวลาการอยู่รอดได้ เพราะยังไม่เกิดกรณีนักศึกษาจำนวนครึ่งหนึ่งออกกลางคันในช่วงเวลาที่ศึกษา จากการเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอดของนักศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์แบบ Kaplan-Meier และการทดสอบโดย Logrank Test ตัวแปรทำนายที่ให้ผลการเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ เพศ อายุ อาชีพของผู้ปกครอง เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร และ
คณะวิชา จากการวิเคราะห์โมเดลฟังก์ชันความเสี่ยงอันตรายต่อการออกกลางคันของนักศึกษา โดยการวิเคราะห์โมเดลการถดถอยของ Cox พบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงอันตรายต่อการออกกลางคันของนักศึกษา ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ หลักสูตร 

Abstract

The research aimed to investigate the survival function, median survival time, hazard rate and drop out cause, to study hazard model and causal variables affecting to drop out rate of students in Kanchanaburi Rajabhat University (KRU). The variables in this study include: gender, age, parents’ occupation, parents’ salary, location of junior high schools, students’ GPA from junior high school, curriculum and faculties The sample consisted of 587 undergraduate students in academic year 2004, selected by stratified random sampling. The data used for this study were from Academic Promotion and Registrar’s Office and were analyzed by SPSS for windows. The results revealed that the highest risk period of 0.2157 and survival time of 78.43% occurred in the first semester. The median survival time could not be shown because 50% of students ‘drop out did not occur in the study time. The Kaplan Meier analysis indicated that the variables which affected the survival time, with a statistical significantly at the level of .05, were gender, age, parents’ occupations, students’ GPA from junior high schools, curriculum and faculties. Form Cox regression, it revealed that the predictors which affected hazard model were student’s GPA in junior high schools and curriculum.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ชุติมา ใจคลาย

teacher. The Secondary Educational Service Area Office8

กิตติมา พฤกภูษณ

ดร.สาขาวิชาสถิติและคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี