ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

Main Article Content

ผุสดี วัฒนสาคร
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ

Abstract

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์/The Strategies for Developing Thai Movie Industry to Support Creative Economy

- บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์และแนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันภายในและภายนอกของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย และ (3) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ผู้ชมภาพยนตร์ไทยที่ฉายในโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ในเครือเอส เอฟ ซีเนม่า ซิตี้ และเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 405 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์เอกสาร และการวิเคราะห์วิธีปฏิบัติที่ดี การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากนั้นผู้วิจัยจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) และนำไปจับคู่เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ (TOWS Matrix) ผลการวิจัย พบว่า  ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้คือ 1) การจัดตั้งค่ายภาพยนตร์แห่งชาติ 2) การจัดตั้งศูนย์บริการด้านภาพยนตร์จากต่างประเทศครบวงจร 3) การรณรงค์ให้เยาวชนไทยสนับสนุนภาพยนตร์ไทยเชิงสร้าง สรรค์  4) การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเชิงสร้างสรรค์  5) การเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้แก่ภาพยนตร์ไทยเชิงสร้างสรรค์ และ 6) การเชื่อมโยงให้เป็นอุตสาหกรรมบันเทิง

- Abstract

       The objectives of this research are (1) To study situation and trend of Thai movie industry development to support creative economy (2) To analyze internal and external competitive environment of Thai movie industry (3) To propose strategy for developing Thai movie industry to support creative economy. Research methodologies include both quantitative and qualitative approaches. For quantitative research, populations include 405 audiences of multiplex theatres of SF Cinema and Major Cineplex in Bangkok. For qualitative research, 18 samples. Data collection tools include questionnaire, semi-structured interview, document analysis, and best-practice analysis. Data analysis includes frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, content analysis. All data will be applied to analyze internal and external environments (SWOT Analysis) and formulate strategy (TOWS Matrix). Findings shown that Strategy in developing Thai movie industry to support creative economy consist of 6 strategic movements as follows; 1) Establishment of national movie creator 2) Establishment of one-stop center to provide service for international movie production. 3) Campaign to promote youth’s participation in creative Thai movie. 4) Development and promotion of human resource in creative Thai movie. 5) Enhancement of revenue for creative Thai movie. 6) Integration with entertainment industry.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ผุสดี วัฒนสาคร

อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต