การปฏิบัติงานด้านวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร.

Main Article Content

ญาณิศา อินทรักษ์
ดวงใจ ชนะสิทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการปฏิบัติงานด้านวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานด้านวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลและขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและหน่วยงานต้นสังกัด 3) แนวทางการปฏิบัติงานด้านวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้าศูนย์และครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 175 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน ผู้ให้สัมภาษณ์ 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที      การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา

                   ผลการวิจัยพบว่า  1) การปฏิบัติงานด้านวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ คือ ด้านสื่อและนวัตกรรม การจัดประสบการณ์เรียนรู้ ด้านการจัดประสบการณ์/การจัดกิจกรรมและด้านหลักสูตร   2)  หัวหน้าศูนย์ครูและครูผู้ดูแลเด็กที่มี อายุ ระดับวุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และ หน่วยงานต้นสังกัดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่างกันมีการปฏิบัติงานด้านวิชาการไม่แตกต่างกัน สำหรับประสบการณ์การทำงานและขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่างกันมีการปฏิบัติงานด้านวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรจัดกิจกรรมการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของเด็กให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาพร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไป กำหนดแนวทางปฏิบัติงานและมีตัวบ่งชี้ที่ครอบคลุมการบริหารจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นแนวทางให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ปฏิบัติตาม มีการพัฒนาแบบองค์รวมทั้งสถานที่ บุคลากรชุมชน และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

Abstract                                                                           

                The purposes of this research were 1) Level of academic performance of the child care center. 2) Compare the academic performance of the child care center for personal different status and size of the child care center and agencies. 3) Academic practice the child care Center. The sample size consisted of heads and teachers of 175 person derived by proportion stratified random sampling. Those interviewed nine people were selected by purposive sampling. The research  instrument used were questionnaires and interviews constructed by the researcher. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA and content analysis.

                The findings of this research were as follows: 1) Overall and specifically level performance of the child care center was at high level and sort by average of three descending order is Media and innovative learning experiences, activities, cubiculum. 2) The head and teachers child care center with age, educational background , position and the agency's child care center has a different academic performance was no different. For work experience and the size of the child care center as well as the academic performance difference is statistically significant at the .05 level. 3) Child care Center should development activities and preparing the child to grow into a complete human being physically, mentally, emotionally, socially and intellectually and instilling moral and ethical concurrently. Guidelines and indicators, a comprehensive enterprise management system and the holistic development of the human resources community and focus on the learners.


Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ญาณิศา อินทรักษ์

ตำแหน่ง ครู คศ.1  26 โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์ ต.ตลาด อ.กระทุ่มแบน

จ.สมุทรสาคร 74110