ขวัญในการทำงานกับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (The Teachers’ Morale and The Performance of Teacher Professional Standards in School Under The Secondary Educational Service Area Office 1)

Main Article Content

ฐณิพิชญ์ บัวสด (Tanipit Buasod)
สายสุดา เตียเจริญ (Saisuda Tiacharoen)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ขวัญในการทำงานของครู 2) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างขวัญในการทำงานกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 59 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนและครู รวมทั้งสิ้น 118  คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับขวัญในการทำงานตามความคิดของเบนท์เลย์และเรมเพล และการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2548 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1)  ขวัญในการทำงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก        2) การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1  โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างขวัญในการทำงานกับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกันในระดับสูง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


                The purposes of this research were to determine 1) the teachers morale, 2) the performance of teacher professional standards, 3) the relationship between the teachers’ morale and the performance of teacher professional standards. The sample consisted of 59 secondary schools. The respondents in each school were an director or deputy director and a teacher totally number of 118 respondents. The instrument was a questionnaire about the teachers’ morale based on conceptual of Bentley and Rempel and the teacher professional standards based on the regulations of the teachers council on professional autonomy and ethics b.e.2548. The statistics used to analyze data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product-moment correlation coefficient analysis.


                The findings were as follows: 1) The teachers’ morale in schools under the secondary educational service area office 1, as a whole and an individual, were at a high level.          2) The teacher professional standards in school under the secondary educational service area office 1, as a whole and an individual, were at a high level. 3) The teachers’ morale and the teacher professional standards in school under the secondary educational service area office 1, was found correlated at a high level at .01 level of significance which is positive correlated.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

เก่งกาจ คิ้วเจริญ. (2556). ขวัญของบุคลากรกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพล ดอนตะโก. (2551). คุณธรรมของผู้บริหารกับการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิวา เหล่าปาสี. (2560). “วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูตาม มาตรฐานความรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมขต 1”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 9(1): 286 – 298.

บดินทร์ สามหมอ. (2551) ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

พิชชาพร อุ่นศิริ. (2554) วุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สนธยา พิมพันธ์. (2555) การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุมณฑา จุลชาต. (2556). “การพัฒนารูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบร่วมมือโดยเน้นครูเป็นสำคัญเพื่อ ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูโรงเรียน ประถมศึกษา”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 5(2): 113 – 133.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์

คุรุสภา.

ศิริณา จิตต์จรัส. (2557). “แนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานและความพึงพอใจของพนักงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์”. พิฆเนศวร์สาร 10(1): 1 -12.

Bentley, Ralph R., Rempel, Averno M. (1970). Manual for the Purdue Teacher Opinionaire New York : Purdue University Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D.W, (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement.