การติดตามการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกเชิงพื้นที่ ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Follow up the Implementation of Quality Area Based Assessment in Education to Improve the Quality of Education)

ผู้แต่ง

  • อรพรรณ ตู้จินดา (Oraphan Toujinda)
  • ดวงใจ ชนะสิทธิ์ (Duangjai Chanasid)

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การประเมินเชิงพื้นที่

บทคัดย่อ

การติดตามการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกเชิงพื้นที่ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการนำผลการประเมินคุณภาพเชิงพื้นที่ไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาและปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดในการดำเนินงาน 2) จุดเด่น จุดด้อย ของการประเมินคุณภาพ 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างคือจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการประเมินคุณภาพภายนอกเชิงพื้นที่ในปีงบประมาณ 2555, 2556 รวม 27 จังหวัด มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 810 คน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้แทนหน่วยงานราชการภายในจังหวัดๆ ละ 30 คน จังหวัดที่ประเมินคุณภาพภายนอกเป็นรายแห่งที่มีกำหนดการประเมินเชิงพื้นที่ในปีงบประมาณ 2557 จำนวน 7 จังหวัด มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 280 คน ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้แทนหน่วยงานราชการภายในจังหวัดๆ ละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามความคิดเห็นที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การนำผลการประเมินคุณภาพเชิงพื้นที่ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) จุดเด่นพบว่าการประเมินพร้อมกันทั้งจังหวัดส่งผลให้เห็นภาพรวมของแต่ละสังกัด สำหรับจุดที่ควรพัฒนาพบว่าไม่มีหน่วยงานกำกับและติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 3) รัฐบาลต้องให้ความสนใจและเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง จัดให้มีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์จังหวัด สร้างความตระหนักให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายนอกเชิงพื้นที่

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2547). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการในระบบ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงใจ ชนะสิทธิ์ และคณะ. (2560). “ความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์การศึกษาของจังหวัดกับระดับคุณภาพของ
สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากผลการประเมินเชิงพื้นที่ (Area-Based Assessment)”.
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9 (2): 54-69
มะลิวัน ศรีโคตร. (2549). การนำผลการประเมินภายนอกและข้อเสนอแนะไปใช้ในการพัฒนา
โรงเรียนมัธยมศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาร
การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
วราภรณ์ บุญเจียม. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ผลการประเมินภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพ
ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุระพงศ์ ทองพันชั่ง. (2545). การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรพรรณ เกษโสภา และ ดวงใจ ชนะสิทธิ์. “การปฏิบัติงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในของ
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.”วารสารศิลปากร
ศึกษาศาสตร์วิจัย. 9(2): 201-215.
Best, J. W. (1986). Research in education (5h ed). Englewood Cliffs, NJ: Practice-Hall.
Danial Katz and Robert Kahn. (1978). The Social Psychology of Organization 2nd ed.
New York: John Wiley & Sons.

เผยแพร่แล้ว

2019-07-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย