การขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถ ในพื้นที่ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (Community Mobilization for Promoting Active Aging in Nongnae Sub-district Phanom Sarakham District Chachoengsao Province)

ผู้แต่ง

  • จรัสศรี หัวใจ (Jarassri Huajai) government office

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ / การขับเคลื่อนชุมชน / การใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ปัญหา ความวิตกกังวล ความต้องการจำเป็น ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ 2) พัฒนากิจกรรมการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถ 3) เสนอแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 329 คน วิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะหาเนื้อหา ความถี่ และร้อยละ

         ผลการวิจัยพบว่า

  1. ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ผู้สูงอายุมีความต้องการเรียนรู้ ฝึกอาชีพ สิทธิ สวัสดิการของผู้สูงอายุ การปรับสภาพแวดล้อมในบ้าน ให้มีความปลอดภัย และการปรับตัวรับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
  2. กิจกรรมการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถ ที่พัฒนาขึ้น ทั้งทางด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วม ความมั่นคง มีผลทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข สนุกสนาน สุขภาพกายสุขภาพจิตดีขึ้น ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน มีรายได้เสริมจากผลิตภัณฑ์ชุมชน ลดค่าใช้จ่าย มีการปรับปรุงที่พักอาศัยให้เหมาะสม
  3. แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถ พบว่าปัจจัยความสำเร็จ คือ มีแกนนำที่เข้มแข็ง อุทิศตน และเป็นผู้ที่มีความรู้ ชุมชนมีวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดไว้ มีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา ชุมชนเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและเทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนและขยายเครือข่าย คือ ผู้สูงอายุมีความร่วมมือกับผู้สูงอายุอื่น ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

คําสําคัญ: ผู้สูงอายุ / การขับเคลื่อนชุมชน / การใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถของผู้สูงอายุ

References

Choomnusonth, K. (2016). “Development of model 0f self-management capacities of people with disabilities for sustainable self-reliance”. Silpakorn Educational Research Journal. 8(2): 147-161.
ขัตพันธ์ ชุมนุสนธ์. (2559). “การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการจัดการตนเองของคนพิการเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยื”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 8(2): 147-161.
Jongwutiwes, K. (2017). “ASEAN research experiences”. Silpakorn Educational Research Journal. 9(2): 1-10.
คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2560). “ประสบการณ์การทำวิจัยในประเทศอาเซียน”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9(2): 1-10.
Makapol, J. (2018). “The study of approaches to promote work for happiness of the older people in ASEAN”. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(1): 1467-1486.
จิตตรา มาคะผล. (2561). “การศึกษาแนวทางส่งเสริมการทำงานเพื่อสร้างความสุขของผู้สูงอายุ ในอาเซียน”. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(1): 1467-1486.
Srikum, J. (2015). “a study of requirements of elderly houses improvements case study: Nongkhon sub-district administrative organization and konoi sub-district administrative organization Ubon Ratchathani Province”. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani University. 5(2): 117-130.
จิระภา ศรีคำ. (2558). “การศึกษาความต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอนและองค์การบริหารส่วนตำบลค้อน้อย จังหวัดอุบลราชธานี”. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 5(2): 117-130.
Manowang, J. (2016). “life security of the elderly in Bann Pasang Wiwat community in Nang Lae sub-district, Muang district, Chiang Rai Province”. Journal of Social Academic. 9(2): 176-190.
จิราพร มะโนวัง. (2559). “ความมั่นคงในชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านป่าชางวิวัฒน์ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย”. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 9(2): 176-190.
Unaromlert, T. (2015). “Development of the innovation creation model of sufficiency economy wisdom to create a sustainable competitive for processed product of community enterprise in lower central Thailand”. Silpakorn Educational Research Journal. 7(2): 79-92.
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2558). “การพัฒนารูปแบบการสสร้างนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 7(2): 79-92.
มิ่งขวัญ คงเจริญ (2560). รายงานผลการดำเนินงาน โครงการเสริมสร้างสุขภาวะและทักษะอาชีพของผู้สูงอายุภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพคนไทย แผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย ประจำปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ. (2556). รายงานการศึกษาโครงการติดตามและประเมินผลการ ดำเนินงาน ตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2550-2554). วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอกสารหมายเลข 309. กุมภาพันธ์ 2556.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2561 เข้าถึงจาก https://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420
สุกัญญา บุญวิเศษ. (2554). ความสำเร็จของชมรมผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาหมู่บ้านหนองดู่ อำเภอ ธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Saenngprachaksakula, S. (2015). “The determinants of Thai ageing level”.Songklanakarin
Journal of Social Sciences and Humanities. 21(1): 139-167.
สุภจักษ์ แสงประจักษ์สกุล (2558).ปัจจัยกำหนดระดับวุฒิวัยของผู้สูงอายุ. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. 21(1): 139-167.
อรุณี สุวรรณชาติ. (2557). การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุตำบล หนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ (2554). การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ:มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
ภาษาต่างประเทศ
Siritarungsri, B. et al. (2013). “Strategies for Successful Ageing Living Alone”. Journalism and Mass Communication. 5(2): 87-97.
Thanakwang, K., and Soonthorndhada, K. (2006). “Attributes of Active Ageing among Older Persons in Thailand: Evidence from the 2002 Survey”. Asia-Pacific Population Journal, 21(3), 113-135.
World Health Organization: WHO. (2002). Active Ageing : A Policy Framework. Online. Avaliable from https://www.who.int/ageing/publications/active_ageing/en/.

เผยแพร่แล้ว

2019-07-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย