การเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของแบบวัดเจตคติแบบลิเคอร์ทที่มีมาตราต่างกัน:ทฤษฎีการสรุอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด

Main Article Content

มณฐิณี ประเสริฐลาภ
กิตติมา พฤกภูษณ

Abstract

การเปรียบเทียบค่าความน่าเชื่อถือของแบบวัดเจตคติแบบลิเคอร์ท

ที่มีมาตราต่างกัน: ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด

Reliability Comparison of Likert Attitude Test With

Different Scales: Generalizability Theory

 

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดและความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนของแบบวัดเจตคติแบบลิเคอร์ทที่มีมาตราต่างกัน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี                 เขต 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 333 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดเจตคติแบบลิเคอร์ท ที่มี 3 มาตรา  5 มาตราและ7 มาตรา มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 1.75 – 4.08 และค่าความเชื่อมั่นเป็น 0.8335 0.8760 และ 0.8837 ตามลำดับ ผลการวิจัย  พบว่า  เมื่อเพิ่มมาตราวัดเจตคติทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่แบบวัดเจตคติที่มี 7 มาตรามีค่าค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดสูงที่สุด และเมื่อพิจารณาค่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อน พบว่า  แบบวัด                 เจตคติทั้ง 3 ชุดค่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยที่แบบวัดเจตคติที่มี 5 มาตรามีค่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด

คำสำคัญ:   แบบวัดเจตคติแบบลิเคอร์ท / ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อของผลการวัด

 

 

*นักศึกษาปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

**อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.สาขาวิชาสถิติและคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

***อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Abstract  

The purposes of this research were to compare generalizability coefficient and error

 variance of Likert attitude tests with 3, 5 and 7 scales. The sample of 333 students was selected by stratified random sampling from Mattayomsuksa 3 students in Kanchanaburi Primary Education Service Area office 2 of academic year 2011. The results revealed that, the generalizability coefficient increases when scale increases  with the .05 statistical significance level. The Likert attitude test with 7 scales had the highest  generalizability coefficient. The Likert attitude tests with different scales had  different error variance with the .01 statistical significance level. The Likert attitude test with 5 scales  had the lowest error variance.

Keywords:  Likert attitude test / generalizability theory

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

มณฐิณี ประเสริฐลาภ

ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์