เอกลักษณ์พื้นถิ่นในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน : การสร้างสรรค์สู่ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม (Identity in Thai traditional mural painting at Wat Phumin Nan: The creation of cultural products)

Main Article Content

ปานฉัตท์ อินทร์คง Panchat Inkong

Abstract

จิตรกรรมฝาผนังแบบประเพณีไทย จัดเป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าอีกประเภทหนึ่ง โดยมีคุณค่าและความงามจากเนื้อหา รูปแบบ สีสัน และการจัดองค์ประกอบภาพที่สะท้อนถึงวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี สังคมและสิ่งแวดล้อม ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ  ที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกายตลอดจนการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ ของแต่ละยุคสมัย โดยส่วนใหญ่เขียนประดับบนผนังอาคารทางพุทธศาสนา ปัจจุบันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม จึงทำให้สังคมไทยยุคใหม่เริ่มให้ความสนใจภูมิปัญญาของท้องถิ่นมากขึ้น ดังนั้นการที่จะประยุกต์ใช้ภูมิปัญญากับสิ่งใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่จึงต้องคิดจากการ       ที่สามารถนำมาผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนและสอดคล้องกับบริบทใหม่ของสังคมวัฒนธรรมแต่ละยุคสมัยด้วย ในส่วนของภูมิปัญญาจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีเอกลักษณ์พื้นถิ่นได้ชัดเจนจากภาพวิถีชีวิตที่สอดแทรกในภาพตอนต่างๆ ดังนั้นการสร้างสรรค์จึงต้องค้นหาสิ่งที่แสดงเอกลักษณ์ ที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนัง เพื่อที่จะนำมาสร้างสรรค์เป็นลวดลายประกอบผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้สอยในชีวิตประจำวัน และผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน เช่น กระเป๋า โคมไฟ กล่องใส่ของอเนกประสงค์ นาฬิกาติดผนัง เคสโทรศัพท์มือถือ ที่ใส่ปากกาบนโต๊ะทำงาน และกล้องถ่ายรูป เป็นต้น กลายเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและเผยแพร่สู่สาธารณชนในสังคมวัฒนธรรมใหม่ ให้เกิดความสนใจและเข้าใจได้ง่าย ซึ่งภาพจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงเอกลักษณ์พื้นถิ่นได้ดีจึงต้องสามารถสะท้อนบริบทของท้องถิ่นนั้นๆ ได้ดีด้วย ลักษณะดังกล่าวได้ปรากฏให้เห็นจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ ทั้งการแสดงออกของภาพบุคคล  ภาพสถาปัตยกรรม และส่วนประกอบที่เป็นภาพธรรมชาติ เป็นต้น โดยเอกลักษณ์พื้นถิ่นที่เป็นจุดเด่นของภาพจิตรกรรม ฝาผนังมาจากการสะท้อนเหตุการณ์และการดำเนินชีวิตของผู้คนเมืองน่านในอดีต ทั้งลักษณะบ้านเรือน การแต่งกาย การทอผ้าด้วยกี่กระตุก การสักยันต์ที่ขาหรือการสักทั้งตัว นอกจากนี้ยังมีภาพวาดที่จัดเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงที่สุดคือ ภาพวาดชายหญิงในลักษณะกระซิบกัน จึงถูกตั้งชื่อตามภาพ นั้นว่า “ภาพกระซิบรัก” หรือ “ปู่ม่านย่าม่าน” และอีกหลายภาพที่มีลักษณะท่าทางที่แสดงอารมณ์จากแววตา การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างสวยงาม ลักษณะดังกล่าวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่มีคุณค่าของจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ เมื่อนำภาพตอนดังกล่าวมาใช้ร่วมกับการสร้างสรรค์ผลงานหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม จึงสามารถเชื่อมโยงอารมณ์ของผู้บริโภคได้ง่าย ในขณะเดียวกันยังสามารถแสดงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาด้านจิตรกรรมฝาผนังสู่ผลงานออกแบบที่แสดงเอกลักษณ์พื้นถิ่นและคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เกิดเป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคในสังคมวัฒนธรรมใหม่ ให้เกิดความเข้าใจภาพจิตรกรรมฝาผนังในบริบทใหม่บนช่องทางการสื่อสารที่แตกต่างกัน 


Thai traditional mural painting is another type of valuable art that shows the value and beauty from stories, colours, and composition of the picture. The painting reflects lifestyle, tradition, society, and environment that illustrate great culture of the nation and give useful information for the studies of religion, history, archaeology, lifestyle, traditional clothes, as well as various local activities in each era. In the past, most of the paintings are painted on the wall in religious buildings, but nowadays, there are changes in society and culture which cause the new generation of Thailand to be more interested in folk wisdom; therefore, in order to apply folk wisdom on new products, it is important to combine them carefully and match them with the new context of society and culture in each era. According to  Wat Phumin’s mural painting, there are pictures that clearly show the identity on lifestyle painting in each section of the wall. As a result, it is necessary to search for the identity part in mural painting in order to create a creative cultural product for decorative products such as bags, lamps, clocks, phone cases, pen holders on the desk and cameras so that they can be cultural products that are available to everyone and easy to be interested in and understood in this current society. However, the mural painting that shows characteristic of the local people should be able to reflect the context of the local well. The expression such as characteristic of people, architecture, and natural component can be found on the mural painting at Wat Phumin. The unique characteristic on mural painting came from an items, event and lifestyle of Nan people in the past such as houses, clothes, weaving loom, tattoos on legs or body. Moreover, there is a painting of man and woman whispering, which is the most outstanding and popular painting. This painting is called “Whispering of love” or “Pooman Yhaman”. Also, there are other paintings that beautifully express emotion from eyes and movement of body. These are  valuable characteristics in mural painting at Wat Phumin. Adapting those painting in cultural product design will easily connect emotion of consumer with the product and will show the characteristic of Thai mural painting in products, which will help creating a strong point that can communicate with consumers from new generation to make them understand about the new context of Thai mural painting.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Wangyen,J. ( 2011). Postmodernism: the return to the world of wisdom (แนวคิดหลังสมัยใหม่ : การย้อนสู่โลกแห่งภูมิปัญญา). Institute of Culture and Arts Journal of Srinakharinwirot University, 4(29), 20-23.

Dechawongya, C. (2003). Mural painting in Nan temple: recent study (จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน : การศึกษาครั้งล่าสุด) [online]. Ancient City Journal, 4(29), 1-2. Retrieved May 5, 2016. from http://www.muangboranjournal.com/modules.

Kaewpentong, C. (2013). The Analytical comparative study of Mural paintings at Wat Phumin and Wat Nongbua Nan province (การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์กับจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัว จังหวัดน่าน). Master’s dissertation, Silpakorn University,Bangkok, Thailand.

Nimsamer, C. (1996). Composition (องค์ประกอบของศิลปะ). Bangkok:Thaiwattanapanit.

Inkong, P. (2013). Prototype of cultural products : the design to the local identity from Thai mural painting (ต้นแบบผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม : การออกแบบเพื่อสื่อเอกลักษณ์พื้นถิ่นจากงานจิตรกรรมฝาผนังไทย). Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathumthani,Thailand.

Royal Institute, (2016) Identity (เอกลักษณ์). [online]. Retrieved May 5, 2016. from http://www.Dictionary.Sanook.com/identity.

Thanapornpan, R. (2003). Capital of Culture. (ทุนวัฒนธรรม). Bangkok: Matichon.Prapripu, W. (2009). Nan City Mural Painting(จิตรกรรมฝาผนังเมืองน่าน). Bangkok: Century.

Maneechot, S. (1986).Thai painting (จิตรกรรมไทย). Bangkok: Odeon Store.Leksukhum, S. (2001). Temple of gold (วัดทอง). London : Thamer & Hudson.