การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด (Interactive media design for Suanpakkad Palace Museum)

Main Article Content

ยลพรรณ รอดรักบุญ Yonlaphan Rodrukboon
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง Kriangsak Khiaomang
อภิสักก์ สินธุภัค Apisak Sindhuphak

Abstract

การออกแบบแอพพลิเคชั่นพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดนี้เป็นการทดลองของงานวิจัยการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด เพื่อพัฒนาประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด และพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ด้วยสื่อปฏิสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สื่อปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ซึ่งสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดอยู่บนพื้นที่กลางใจเมืองสะดวกในการเดินทางของรถไฟฟ้า จัดแสดงโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่า มีธรรมชาติที่ร่มรื่น ล้วนซึ่งให้ความรู้ทางศิลปและวัฒนธรรมไทย แต่เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์ที่มีความน่าสนใจในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจึงจำเป็นต้องมาการสร้างเอกลักษณ์สร้างสรรค์ให้เข้ากับสื่อ


การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดเพื่อการส่งเสริมภาพลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือกลุ่มนักเรียนและนักศึกษา ทางผู้วิจัยลงภาคสนามค้นคว้าศึกษาข้อมูลถึงประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดและสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ทางพิพิธภัณฑ์ฯ โดยมุ่งหวังเพื่อพัฒนาในการออกแบบสื่อให้เหมาะกับพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด จากการศึกษาข้อมูลและทำแบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายพบว่าอิทธิพลของสื่อจากสมาร์ทโฟนมีผลต่อกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ทางผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์รูปแบบในการออกแบบให้เหมาะสมกับพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ผสมผสานกับทฤษฏีพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อกระจายสื่อประชาสัมพันธ์แอพพลิเคชั่นพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดและส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ห้องเรียนในอนาคต


The design of Suanpakkad Palace Museum application was an experiment of the research on interactive media design of Suanpakkad Palace Museum to promote public relation, boost the image of Suanpakkad Palace Museum and develop a field-trip learning source through interactive media. The objective was to analyze interactive media which had been developed to make it suitable for Suanpakkad Palace Museum. The location of Suanpakkad Palace Museum is at the center of the city, which makes it convenient for transportation via BTS. It has held exhibition of ancient place and valuable antiquities amidst beautiful natural surroundings, all of which offer knowledge about Thai art and culture. However, due to lack of interesting public relation, reaching target groups requires the creation of unique identity with appropriate media.


The interactive media design of Suanpakkad Palace Museum to promote the image of Suanpakkad Palace Museum mainly targeted students. The researcher conducted fieldwork to collect information on the history of Suanpakkad Palace Museum and interview museum staff in order to design suitable media for Suanpakkad Palace Museum. Based on the information collected and questionnaire distributed to the target group, smartphone was found to be the most influential media for the target group. The researcher analyzed the data and formats of the design to make it appropriate for Suanpakkad Palace Museum. This process was undertaken in tandem with human behavior theory to disseminate public relation media application for Suanpakkad Palace Museum, boost the image of Suanpakkad Palace Museum and promote it to be a field-trip learning source in the future.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Baan Jomyut. (2000). Definition and history of the word “Museum” (ความหมายและความเป็นมาของคำว่า “พิพิธภัณฑ์”) [Online]. Retrieved on February 6, 2015 from http://www.baanjomyut.com/

Buadang, R. (2012). What is Application Program? [Online]. Retrieved on June 16, 2015 from http://www.dstd.mi.th/

Chumbhot-Pantip Foundation. (1995). 25 years for public interest (25 ปี แห่งการทำสาธารณประโยชน์). Bangkok: Amarin Printing Group PCL.

Kaewkangwan, K. (2002). Life Improvement psychology for all ages (จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกวัย). Bangkok: Thammasat University Press.

Khowtrakool, S. (2007).Educationa psychology (จิตวิทยาการศึกษา). Bangkok:Chulalongkorn University Press.

Peter, S. (2012). Teaching material design approaches (แนวคิดในการออกแบบ). Bangkok: O S Printing house.

Songkram, N.(2014). Multimedia design and development for learning (การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ ). Bangkok: ChulalongkornUniversity Press.

Sukoltha, S. (2015). Librarian Roles on Lifetime Learning Support (บทบาทของบรรณารักษ์ต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต). Retrieved on May 15, 2015 from http://sutawan2537.blogspot.com/