รูปแบบการการเรียนการสอนที่ประสบความสำเร็จของวงโยธวาทิตต้นแบบ (A pattern of the successful military band management model)

Main Article Content

พรสวรรค์ มณีทอง Pronsawan Maneethong

Abstract

              จากการสำรวจวงโยธวาทิตในเขตอำเภอเมืองลำปาง พบว่าวงโยธวาทิตบางวงไม่ประสบความสำเร็จในด้านการเรียนการสอน และการบริหารจัดการวง ส่งผลให้วงโยธวาทิตในเขตอำเภอเมืองลำปางแตกต่างกันในด้านคุณภาพของเสียง ความสมดุลของเสียงเครื่องดนตรี การปฏิบัติตามอัตราส่วนโน้ต สัญลักษณ์ต่างๆ งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนเพื่อหารูปแบบในการบริหารจัดการวงโยธวาทิตที่ประสบผลสำเร็จจากวงโยธวาทิตต้นแบบของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยวิธีสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การศึกษาเชิงลึก การจัดเวทีถอดบทเรียน ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนต้นแบบมีรูปแบบการบริหารจัดการวง คือ1)กระบวนการคัดเลือกนักดนตรี พิจารณาจากนักเรียนที่พร้อมจะเรียนรู้ มีสรีระร่างกายเหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละชนิด 2) ความรู้พื้นฐานก่อนการปฏิบัติเครื่องดนตรี ได้แก่การปรับริมฝีปาก การหายใจ ท่าทางในการปฏิบัติ การดูแลรักษาเครื่อง 3) การปฏิบัติเครื่องดนตรี 4) การบริหารจัดการวง มีหัวหน้าวง หัวหน้ากลุ่มเครื่องดนตรี และระบบรุ่นพี่รุ่นน้องดูแลการฝึกซ้อมย่อยของสมาชิกในวง โดยครูประชุมร่วมกับรุ่นพี่ที่ทำหน้าที่สอนเพื่อสอบถามปัญหา ให้ข้อเสนอแนะ


              The military band management investigation in Muang district, Lampang province indicated that the difficulties in the instruction and management caused some bands failed their success. These problems caused the difference production among some bands in Lampang province, especially, in the sound quality production, the music balance, the time signature performance, and other signatures. This research aimed to provide a lesson learned visualizing in searching for the most successful military band management in Lampang to be a band model for schools in The Secondary Educational Service Area Office 35, Muang, Lampang. The data gathered from using the interview, the non-participant observation, the in depth study, and the lesson learned visualizing. It reveals the model school management system is made as following: 1) The selection process; student’s readiness ability and their body building which match to each type of music instrument performance. 2) The basic knowledge for pre-performance; students’ knowledge in adjusting their lips, breathing, band performance acting, and taking care of their music instrument. 3) The music performance. 4) The band management includes the band leader, the music instrument leader and the buddy system for specific practice. The teacher and senior students make a follow-up meeting and giving suggestion to the band.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Chantawong, P. (2009). The military band management in secondary school of Muang district Chiang Mai province (การจัดการวงโยธวาทิตในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่). Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 14(1), 127-136.

Charoensook, S. (2002). The art of saxophone playing (ศิลปะการเป่าแซ็กโซโฟน) (2nd ed). Bangkok: Music Talks.

Hanteerapitak, S. (2012). Establishingard developing a sustanable marching band in secondary in the northeastern region of Thailand (แนวทางการจัดตั้งและพัฒนาวงโยธวาทิตในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อความยั่งยืน). Master of Fine and Applied Arts (Music), Mahasararakham University, Mahasarakham, Thailand.

Keawklapanyachareon, W. (2010). The management process effecting the military band of Watsuthi Wararam School (กระบวนการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อกิจกรรมวงโยธวาทิต โรงเรียนวัดสุทธิวราราม). Master of Education, Educational Administration, Dhonburi Rajabhat University, Bangkok, Thailand.

Maneethong, P. (2015). The study of Nakorn Lampang municipality’s rehearsal military band (การศึกษาเชิงปฏิบัติการด้านการฝึกซ้อมวงโยธวาทิตโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของวงโยธวาทิตในเขตเทศบาลนครลำปาง). Journal of Humanities, Naresuan University, 13(3), 89-105.

Naktad, S. (2010). Managerial administration of the winner of 2007 national and international military band competitions: a case study of Bodindecha (Sing Singhaseni) School (การบริการจัดการวงโยธวาทิตที่ได้รับรางวัลชนะเลิศแห่งประเทศไทย และระดับโลกปี 2550 : กรณีศึกษาโรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี)). Master of Fine and Applied Arts (Music), Mahasararakham University, Mahasarakham, Thailand.

Prapatrangsee, S. (2007). The practicing in music (woodwind instruments) case study: student of prf-college in music program, College of Music, Mahidol University (กระบวนการฝึกซ้อมดนตรี (กลุ่มเครื่องลมไม้) กรณีศึกษา : นักเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล). Master of Art (Music), Mahidol University, Nakhon Pathom, Thailand.

Rojanatrakul, S. (2011). Marching band management (การจัดการวงโยธวาทิต). Bangkok: Odeon Store.

Thongsai, T. (2013). A study of procedure of the secondary school military band’s management for international band (การศึกษากระบวนการเตรียมวงโยธวาทิตในระดับชั้นมัธยมศึกษา เพื่อเข้าร่วมแข่งขันวงโยธวาทิตระดับนานาชาติ). Master of Art (Music), Payap University, Chiang Mai, Thailand.