สัญญาของนามรูป ในวิถีชีวิตชนบทอีสาน (The Memory of Mind and Matter in the Lifestyle of Northeastern Countryside)

Main Article Content

เรืองศักดิ์ ปัดถาวะโร (Reangsak Padthawaro)

Abstract

          การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม ชุด สัญญาของนามรูปในวิถีชีวิตชนบทอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมรูปแบบเหมือนจริง (Realistic) ด้วยเทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ (Oil on canvas) ที่มีแรงบันดาลใจมาจากการมองรูปทรงต่างๆในวิถีชีวิตในชนบทอีสานให้เกิด “สัญญา”หรือความจำได้หมายรู้ โดยใช้สติปัญญาพิจารณา “นามรูป” หรือรูปทรงที่ปรากฏนั้นให้เป็นทัศนธาตุต่างๆ แล้วประสานทัศนธาตุนั้นด้วยฝีแปรงในขณะนั้น สร้างเป็นผลงานจิตรกรรมเทคนิคสีน้ำมันในรูปแบบเหมือนจริง เป็นการมองรูปธรรมให้เป็นนามธรรมแล้วประสานนามธรรมนั้นสู่รูปธรรม อันเป็นการหมุนวนของวัฏฏะตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นกระบวนการมอง พิจารณา คิด วิเคราะห์ วางแผน และสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมซึ่งใช้กลวิธีการระบายสีน้ำมันที่หลากหลาย ทั้งการใช้พู่กันและเครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุในท้องถิ่นที่ใช้สร้างมิติในผลงาน แทนค่าความรู้สึกของพื้นผิววัตถุและรูปทรงต่างๆในชนบทอีสาน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่ประสานสัมพันธ์ทั้งเนื้อหา รูปแบบและเทคนิควิธีการ เพื่อถ่ายทอดความงามของวิถีชีวิตและคุณค่าภูมิปัญญาของคนชนบทอีสาน ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบเฉพาะตัวและสะท้อนให้สังคมตระหนักในคุณค่าวิถีชีวิตในชนบทอีสาน ที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พอเพียงและสงบสุข


          The creation of the painting set “The Memory of Mind and Matter in the Lifestyle of Northeastern Countryside” aims to create realistic paintings, using the oil on canvas technique. The inspiration derived from observation of shapes and forms in the lifestyle of northeastern countryside, leading to “memory” or recollection through intellectually considering “mind and matter” or visible shapes as visual elements. At that precise moment, a brush was used to integrate those visual elements, creating realistic oil paintings. It represented looking at the concrete as the abstract and combining the abstract to create a concrete form, like going through a circle of life which is a dharma principle of Buddhism. It was a process of looking, considering, thinking, analyzing, planning and creating paintings with various techniques of oil painting as well as paintbrushes and instruments made from local materials to create dimensions in the artworks. They symbolized the texture of objects and shapes in the northeastern countryside. These works showed the relationship between the process of creating the painting which coordinated the contents, formats and techniques in order to present the beauty of the lifestyle and local wisdom value of countryside northeastern people. It developed a unique create work and it is a reflection that enhanced society’s awareness of the lifestyle of the northeastern countryside that is simplistic, sufficient and peaceful.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Atipattayakul, C. (2016). New perspective issues route case access to northeast of Buddhism (ประเด็นมุมมองใหม่ กรณีเส้นทางการเข้าสู่ภาคอีสานของพระพุทธศาสนา). Mekong Chi Mun Art and Culture Journal, 2(1), 1-16.

Atthapuk, C. (2011). Composition (องค์ประกอบศิลปะ) (8th ed.). Samut Sakhon: Pimdee Co.,Tld.

Burawas S. (2011). Buddhist philosophy (พุทธปรัชญา). Bangkok: Charoen Wit Printing House.

Chanphosri, A. (2016). Transformation of tradition Thai painting form to the doctrines of Buddhism (การแปรเปลี่ยนจากรูปธรรมของจิตรกรรมของไทยสู่หลักธรรมในพระพุทธศาสนา). Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 2361-2375.

Kiddee, P. (2016). Colours of faith and serenity (สีแห่งความศรัทธาและสงบสุข). Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 2271-2288.

Nanasampanno, B. (1987). Entrance to the space of mind of Dharma (เข้าสู่แดนอวกาศของจิตของธรรม). Maha sarakham: Pride Printing.

Nimsamer, C. (2014). Composition of art (องค์ประกอบของศิลปะ) (9th ed.). Bangkok: Thai Watana Panich Press Co., Ltd.

Pichet Piaklin. (2016). Way to vilara of mind (การเดินทางสู่วิหารแห่งจิต). Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 2289-2306.

Ponrungroj, C. (2000). Research in visual arts (การวิจัยทางทัศนศิลป์). Bangkok: Darn Sutha Press Company Limited.

Sriratana, P. (1999). Aesthetics in visual arts (สุนทรียะทางทัศนศิลป์). Bangkok: O.S.Printing House Co., Ltd.

Thangchalok, I. (2007). Guideline for teaching and creative painting advanced (แนวทางการสอนและการสร้างสรรค์ จิตกรรมขั้นสูง). Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.

Thaothong, P. (2005). From light shade to Himmaphan Forest (จากแสงเงาสู่ป่าหิมพานต์). Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.