มานุษยวิทยาการออกแบบ: การค้นหาและพัฒนาหลักการออกแบบเพื่อสังคม (Design anthropology: Research and development of socially-engaged design)

Main Article Content

ปรัชญา คัมภิรานนท์(Prachya Compiranont)
ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์(Suppakorn Disatapundhu)

Abstract

บทความชิ้นนี้เรียบเรียงจากวิทยานิพนธ์หัวข้อ “มานุษยวิทยาการออกแบบ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ค้นหาหลักการมานุษยวิทยาการออกแบบ 2. เพื่อประยุกต์ใช้หลักมานุษยวิทยาการออกแบบในการออกแบบเพื่อสังคม งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยมีกรอบแนวคิดเบื้องต้นในการปฏิบัติการที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. หลักการมานุษยวิทยาการออกแบบ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ผสมผสานศาสตร์ของการออกแบบและมานุษยวิทยาเข้าด้วยกัน และ 2. แบบจำลองกระบวนการออกแบบเพื่อสังคม ซึ่งเป็นการนำหลักวิชาการเพื่อสังคม มาประยุกต์เข้ากับแบบจำลองกระบวนการออกแบบ จากนั้น ผู้วิจัยจึงได้นำกรอบทฤษฎีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการจริง เพื่อให้การปฏิบัติการเป็นตัวช่วยในการพัฒนาทฤษฎี ตามหลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีพื้นที่วิจัยคือ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีระยะเวลาการดำเนินการทั้งสิ้น 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปี พ.ศ. 2560 ผู้วิจัยได้ดำเนินการปฏิบัติการทั้งสิ้น 3 โครงการ ได้แก่ งานแต่งงานในหอศิลป์ การอบรมสตรีทอาร์ตในหอศิลป์ และโครงการหอศิลป์ต้นแบบเพื่อสังคม โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติการในแต่ละโครงการแบ่งเป็น ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาแผนการปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน ขั้นตอนที่ 3 การสังเกตผลการปฏิบัติการ และขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนผลการปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการประเมินผลเชิงคุณภาพ และนำหลักการที่ได้รับการพัฒนาในแต่ละโครงการ ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการโครงการถัดไปในลักษณะวนซ้ำ จนได้หลักการตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทั้งสิ้น 4 หลักการ ได้แก่ 1. การแทรกแซงด้วยการออกแบบ 2. การเปลี่ยนบทบาทจากนักออกแบบเป็นผู้จัดการโครงการ 3. การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม และ 4. การใช้สหวิทยาการในการออกแบบ


This article is based on the dissertation title “Design Anthropology,” which is in partial fulfillment of the requirements for the Doctor of Fine and Applied Arts Degree in the Fine and Applied Arts Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University, Academic Year 2017. The objectives of this research are to: 1) determine the principles of Design Anthropology, and 2) apply principles of Design Anthropology in socially-engaged design. This research is a participatory action research. The primary research frameworks deriving from literature review comprised: 1) Design Anthropology, which is the integration of design thinking and anthropological research; and 2) Socially-Engaged Design Process Model, which applies socially-engaged scholarship to the design process. Subsequently, the theoretical frameworks were implemented so that practice could inform theoretical development in accordance with the principles of action research. The implementation took place in the area of Chiang Mai University Art Center for 3 years from 2015 to 2017. The action research consisted of 3 projects, which were The Wedding at the Museum, Street Art Workshop at the Museum, and The Socially-Engaged Museum. The process of each project can be divided in 4 stages: 1) development of implementation plan, 2) plan implementation, 3) observation of implementation result, and 4) reflection of the implementation results (using qualitative measurement). The principles developed from each project were applied in the next project until the research fulfills its objective. Eventually, the developed principles from the action research are: 1) Design Intervention, 2) Designer as a Project Manager, 3) Participatory Design, and 4) Multidisciplinary Approach to the Design.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Armstrong, H. (2009). Graphic Design Theory: readings from the field (1st ed.). New York: Princeton Architectural Press.

Armstrong, H. (2011). Participate: designing with user-generated content (1st ed.). New York: Princeton Architectural Press.

Boon-long, P., Kaewthep, K. and Papasratorn, B. (2016). Socially - engaged Scholarship: Concept & Method (งานวิชาการเพื่อสังคม: หลักการและวิธีการ) (1st ed.). Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).

Gunn, W., Otto, T. and Smith, R. (2015). Design Anthropology: theory and practice (3rd ed.). London: Bloomsbury Academic, an imprint of Bloomsbury Publishing Plc.

Kessung, P. (2016). Action Research (การวิจัยเชิงปฏิบัติการ) (1st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Satsanguan, N. (2015). Qualitative Research in Anthropology (การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา) (7th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Shea, A. (2012). Designing for Social Change: strategies for community-based graphic design (1st ed.). New York: Princeton Architectural.

Visocky O’Grady, J. and Visocky O’Grady K. (2009). A Designers Research Manual: succeed in design by knowing your clients and what they really need. Gloucester, MA: Rockport Publishers.

Wongsingthong, P. (2004). History of Creative Arts (ประวัติศาสตร์นฤมิตศิลป์ ) (1st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.