การประเมินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ กิจกรรมการพัฒนานิเทศแนวใหม่ An Evaluation Project for Leveling the Teacher Quality System : The New Supervision Development Activity

Main Article Content

มาเรียม นิลพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

การประเมินผลโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบกิจกรรมการพัฒนานิเทศแนวใหม่นี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1.) เพื่อประเมินความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ 2.) เพื่อประเมินสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ด้าน 2.1) การดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ 2.2) การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล และ 2.3) การดำเนินการแผนการนิเทศ 3.) เพื่อประเมินคุณลักษณะและพฤติกรรมการนิเทศของศึกษานิเทศก์ 4.) เพื่อเสนอรูปแบบการนิเทศและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของศึกษานิเทศก์เป็นงานวิจัยการประเมินโครงการ (Evaluation Research)ประเภทผสมผสานวิธี (Mixed Methods) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อความรคู้ วามเขา้ ใจ ความสามารถตามสมรรถนะของศึกษานิเิทศก์จากผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และหัวหน้ากลุ่มนิเทศตดิ ตามและประเมินผลการศึกษา 2.) ประเด็นการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ ความสามารถตามสมรรถนะของศึกษานิเทศก์สำหรับศึกษานิเทศก์ 3.) แบบสัมภาษณ์คุณลักษณะศึกษานิเทศก์สำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน 4.) ประเด็นสนทนากลุ่มคุณลักษณะของศึกษานิเทศก์สำหรับครูอาจารย์ในโรงเรียน 5.) แบบสอบถามคุณลักษณะศึกษานิเทศก์สำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา6.) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย 7.) แบบประเมินแผนพัฒนารายบุคคล 8.) แบบบันทึกสาระสำคัญแผนดำเนินการนิเทศของศึกษานิเทศก์ 9.) แบบประเมินคุณลักษณะและพฤติกรรมของศึกษานิเทศก์แบบออนไลน์ (Online)10.) แบบสัมภาษณ์ผู้กำำหนดนโยบายและแนวคิด สู่การปฏิบัติ วิเิคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1.ศึกษานิเทศก์มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถตามสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ คือ มีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถปฏิบัติงานในด้านการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การวิจัยสื่อและเทคโนโลยี มีความสามารถในการให้ความรู้ และเสริมสร้างความเข้าใจในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แนะนำกำกับติดตามงานเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมีบทบาทสำคัญในการยกระดับคุณภาพครู เพื่อขยายผลสู่นักเรียนให้มีคุณภาพ เป็นผู้ประสานขยายผลและถ่ายทอดความรู้เชิงทฤษฎี สู่การปฏิบัติ เป็นผู้วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองมีทักษะกระบวนการคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร และทำงานเป็นทีม2. สมรรถนะของศึกษานิเทศก์ ด้านการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง และสามารถตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยได้อยู่ในระดับสูง งานวิจัยส่วนใหญ่ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) ร่วมกับวิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพเข้าไปเสริมวิธีการเชิงปริมาณ สมรรถนะด้านการเขียนแผนพัฒนาตนเอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และเขียนได้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และความสามารถในการทำวิจัย และส่วนใหญ่ใช้วิธีการพัฒนาโดยการอบรม ด้านแผนดำเนินการนิเทศพบว่าส่วนใหญ่ให้ความรู้แก่ครูในเรื่องของแนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้วิธีการนิเทศตามวงจร PDCA และ PIDRE และกัลยาณมิตรนิเทศ3. คุณลักษณะของศึกษานิเทศก์ พบว่า ศึกษานิเทศก์มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์คือ 1.) มีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำอยู่ในระดับปริญญาโท 2.) มีบุคลิกความเป็นนักวิชาการและมีความเป็นผู้นำ 3.) เคยมีประสบการณ์ในการสอนหรือ เคยเป็นผู้บริหารสถานศึกษามาก่อน 4.) มีความเข้าใจการจัดการศึกษาตามหลักการเรียนรู้และมีความเข้าใจนโยบายของสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5.) มีความรู้ด้านการนิเทศการศึกษา การทำวิจัยเชิงปริมาณและนวัตกรรมการศึกษา 6.) มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพของตนเอง 7.) มีจิตอาสา และมีความเป็นกัลยาณมิตรคุณลักษณะที่ควรปรับปรุงคือ 1.) ความรู้ความเข้าใจเรื่องการวิจัยเชิงคุณภาพ 2.) ความชำนาญเฉพาะกลุ่มสาระวิชา3.) ความเชี่ยวชาญในด้านการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ และพฤติกรรมการนิเทศ พบว่า1.) ศึกษานิเทศก์ไปนิเทศตามโรงเรียนโดยเฉลี่ยภาคเรียนละ 2 ครั้ง 2.) ศึกษานิเทศก์เป็นผู้นำนโยบายจากสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่โรงเรียน 3.) ศึกษานิเทศก์เป็นผู้จัดการฝึกอบรมในการพัฒนาครู4.) ศึกษานิเทศก์มีพฤติกรรมการนิเทศด้วยหลักกัลยาณมิตร4. รูปแบบการนิเทศของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ควรมีความหลากหลายเพื่อตอบสนองบริบทของแต่ละเขตพื้นที่ ควรเป็นรูปธรรม โดยใช้การนิเทศแบบบริบทเป็นฐาน (Context based Supervision) และการนิเทศแบบวิจัยเป็นฐาน (Research based Supervision) โดยมีกระบวนการนิเทศการศึกษาประกอบด้วย 1.) วิจัยตามบริบท (Researchby Context) 2.) ร่วมวางแผน (Planning) 3.) ร่วมดำเนินการ (Doing) 4.) ร่วมสะท้อนกลับ (Reflecting) 5.) ร่วมประเมินผล (Evaluating) และ 6.) ร่วมปรับปรุงและพัฒนา (Improving and Developing) โดยมีการประชุมให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Workshop) ในทุกขั้นตอนของการนิเทศและคุณลักษณะของศึกษานิเทศก์ที่พึงประสงค์หรือมืออาชีพคอื ควรเป็นผู้ให้คำปรึกษาช่วยเหลือ (Coach) เป็นพี่เลี้ยง (Mentor) เป็นผู้วิจัย (Researcher) เป็นผู้พัฒนา (Developer)ศึกษานิเทศก์ที่พึงประสงค์ควรจะมีลักษณะ9Cs9Ts9Ss เป็นผู้ที่มีความรู้แบบ 9Cs คือ มีความสามารถแบบ 9Ts และมีบุคลิกลักษณะแบบ 9Ss ดังนี้ ด้านความรู้ 9Cs; COVER, CLEAR, CONTENT, CREATIVE, CONGRUENCE,CONCEPT, CONCRETE, CHANGE, CONSTRUCT ด้านความสามารถ 9Ts; TARGET, TRANSFER, TACTICS,TECHNOLOGY, TEAM, TECHNIQUE, THINKING, TREND, TEACHER OF TEACHERS ด้านบุคลิกลักษณะ9Ss; SMART, SMILE, SMALL, SUPER MODEL,SPIRIT, SHARING, SERVICE MIND, STANDARD, SOCIALRELATIONSHIP

คำสำคัญ: 1. การประเมินโครงการ. 2. การยกระดับคุณภาพครู. 3. กิจกรรมการนิเทศแนวใหม่. 4. รูปแบบการนิเทศ. 5. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษานิเทศก์.

 

Abstract

The purposes of this research were 1.) to evaluate the knowledge and ability pertaining to supervisors’competency 2.) to evaluate supervisors’ competency on 2.1) qualitative research conduct 2.2) individualdevelopment planning and 2.3) supervision process planning 3.) to evaluate the attributes and behavior ofsupervisors 4.) to propose a supervision model and desirable characteristics of supervisors. This researchwas conducted using project evaluation with mixed methods. Research instruments were interview schedules, focus group guidelines and assessment forms. The obtained data was analyzed by mean ( X ), standarddeviation (S.D.) and content analysis.The research results were as follows :1. Supervisors had knowledge and ability pertaining to supervisor’s competency in curriculum,instruction, assessment, research, media and ICT. They had an ability to provide knowledge and understanding,advice, support, guidance, and monitoring for educational quality development. Supervisors took importantroles in elevating teacher quality, contributing to an enhancement of students’ quality in facilitating theoryimplementation, and in conducting on educational innovation to use in schools. They had a perception oftheir roles and responsibilities, thinking, problem solving, communication and team working.2. Supervisor’s competency in conducting qualitative research was at a intermediate level but theircompetence in coming up with a research project title was at a high level. Most of their research use aqualitative method together with a quantitative method with the qualitative analysis as a supporting part ofthe quantitative analysis. Their competence in writing an individual development plan was at a high level.Supervisors could prepare an individual development plan in response to the policy of the Office of the BasicEducation Commission, focusing on self-development in English communicative skills and research skills,mostly by way of training. Supervision operational plans were generally on child centered learning managementusing PDCA model, PIDRE model and caring friendship-based supervision.3. Attributes of supervisors were at a desirable level including 1.) master degree 2.) academic andleadership qualities 3.) experience in teaching or administration 4.) understanding of educational managementand the policies of the Office of the Basic Education Commission 5.) knowledge of educational supervision,quantitative research and educational innovation 6.) love and faith in supervisory profession 7.) service mindand caring friendship. Attributes of supervisors that should improve were 1.) qualitative research 2.) knowledgeof specific discipline 3.) skills in English communication and ICT. Regarding the behavior of supervisors,it was found that 1.) supervisors supervised each school on average twice per semester 2.) supervisorsimplemented policies from the Office of the Basic Education Commission to school 3.) supervisors weretrainers for teacher development 4.) supervisors supervised on the basis of a caring friendship principle.4. A supervision model and the desirable characteristics of supervisors should be responsive toeach educational service area office. The focus should be on context-based and research-based supervision.The Educational supervision process should be based on 1.) research by context 2.) planning 3.) doing4.) reflecting 5.) evaluating and 6.) improving and developing. In each step of the process, stakeholders’participation should be encouraged. The desirable characteristics of supervisors should be coach, mentor,researcher and developer. Those characteristics should address 9Cs 9Ts 9Ss: knowledge, 9Cs; COVER,CLEAR, CONTENT, CREATIVE, CONGRUENCE, CONCEPT, CONCRETE, CHANGE, CONSTRUCTPERFORMANCE, 9Ts; TARGET, TRANSFER, TACTICS, TECHNOLOGY, TEAM, TECHNIQUE, THINKING,TREND, TEACHER OF TEACHERS AND ATTRIBUTE, and 9Ss; SMART, SMILE, SMALL, SUPER MODEL,SPIRIT, SHARING, SERVICE MIND, STANDARD, SOCIAL RELATIONSHIP.

Keywords: 1. An Evaluation Project. 2. Leveling the Teacher Quality System. 3. New SupervisionDevelopment Activity. 4. Supervision Model. 5. Supervisor Desirable Characteristic.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ