สุขภาวะทางจิต ความคิดเชิงบวก คุณค่าของงาน และความผูกพันต่อองค์การของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (PSYCHOLOGICAL WELL-BEING, POSITIVE THINKING, WORK VALUES AND COMMITMENT TO ORGANIZATION OF THE SECONDARY SCHOOL TEACHERS AT NONT

Authors

  • ทรงสมร โสตะ ภาควิชาจิตวิทยาชุมชน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสุขภาวะทางจิต ระดับคุณค่าของงาน ระดับความคิดเชิงบวก และระดับความผูกพันต่อองค์การของครูระดับมัธยมศึกษา 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของครูระดับมัธยมศึกษาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรแต่ละตัวจำนวนทั้งสิ้น 3 ตัว ได้แก่ สุขภาวะทางจิต ความคิดเชิงบวก และคุณค่าของงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของครูระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ประชากรที่ใช้ศึกษาคือครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 4 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 597 คน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 306 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test, Least Significant Difference (LSD) และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า สุขภาวะทางจิต ความคิดเชิงบวก คุณค่าของงาน และความผูกพันต่อองค์การของครู อยู่ในระดับสูงทั้งหมด ครูที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการทำงาน และรายได้ที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 เมื่อหาค่าสัมประสิทสหสัมพันธ์ พบว่า สุขภาวะทางจิตโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ คุณค่าของงานโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ และความคิดเชิงบวกโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

 

 

The Objectives of this research were: 1) to study the level of psychological well-being, positive thinking, work values and commitment to organization of the teachers, 2) to compare commitment to organization of the teachers, 3) to study the relationship between psychological well-being and commitment to organization of the teachers, work values and commitment to organization of the teachers and positive thinking and commitment to organization of the teachers. The samples used in this research were 310 secondary school teachers at Pakkret, Nonthaburi province; (SuankularbNonthaburi, Pakkret, Potinimit and Nawamintharachinuthit HorwangNonthaburi). The samples were collected by questionnaires and analyzed by a statistic package program. The method that used in statistic for analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, Least Significant Difference (LSD) and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.

            The results were as follows: 1) psychological well-being, positive thinking, work values and commitment to organization were the high level of all, 2) the teachers who had difference in age, marital status, amount of working time and compensation had different commitment to organization with the statistical significance at .01 and .05 level respectively, And 3) there were positive correlation between 2 factors: psychological well-being and commitment to organization, work values and commitment to organization and positive thinking and commitment to organization with the statistical significance at .001 level.

Downloads

Download data is not yet available.

References

[1] Reimers, E. V. (2003). Teacher Professional Development: An International Review
of the Literature. Paris: CHEMS.
[2] สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542.
สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2557, จาก http://www.moe.go.th/edtechfund/fund/images/stories/laws/
prb_study(final).pdf
[3] รุ่ง แก้วแดง. (2544). การปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
[4] เลขา ปิยะอัจฉริยะ. (2550). การเสวนาเรื่องยุทธศาสตร์และการจัดการความรู้พื้นฐานเพื่อ
การพัฒนาครู. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2557, จาก www.manager.co.th/Daily/Viewnews.apx?.,
[5] กฤษดา มังคะตา. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การวิจัยละการประเมินการศึกษา). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
[6] แสวง รัตนมงคลมาศ; และคณะ. (2528). การสรรหาและการคงอยู่และการลาออกจากอาชีพ. สืบค้นเมื่อ
14 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/ac/0583/07bibliography-appendices.pdf
[7] Shalon H., Schwartz and S. Surkiss. (1999). Basic Individual Values, Work Values, and the
Meaning of Work. Applied Psychology: An international review. 48(1): 49-71.
[8] Lee, et.al. (2012 อ้างใน ธรรมรัตน์ อยู่พรต, 2556). ค่านิยมในการทำงานส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิก
ที่ดีขององค์กรของเจนเนอเรชั่นต่างๆ. วารสารบริหารธุรกิจ. 36(138): 40-62.
[9] อภิญญา คารมปราชญ์. (2545). การรับรู้คุณค่าของงานและการปฏิบัติงานตามบทบาทของหัวหน้าผู้ป่วย
โรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 14(2): 10-21.
[10] บุญโรม สุวรรณพาหุ. (2556, กรกฎาคม-ธันวาคม). สุขภาวะของวัยรุ่น: กรอบมโนทัศน์และเครื่องมือ
ประเมินทางจิตวิทยา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 19(2): 127-138.
[11] Yamane T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.
[12] Hair, J. F., W. C. Black., B. Babin., R. E. Anderson. and R. J. Tatham. (2006). Multivariate
Data Analysis. 6th ed. New Jersey: Pearson Education.
[13] Elizur, D., I. Borg., R. Hunt. and I. M. Beck. (1991, January). The structural of work values: A
cross-cultural comparison. Journal of Organizational Behavior. 12: 21-38.
[14] Sheldon and E. Mary. (1971, June). Investments and involvements as mechanism producing
commitment to the organization. Administrative Science Quarterly. 16: 143.
[15] Mottaz, C. (1986, June). An analysis of the Relationship between Education and Organizational
Commitment in a Variety of Occupational Groups. Journal of Vocational Behavior. 28(3): 214-
228.
[16] เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป General Psychology. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[17] รักชนก แสวงกาญจน์. (2555, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพของ
ผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 6(1): 171-185.
[18] Stoltz, P. G. (1997). Adversity Quotient: Turning Obstacles into Opportunities. New York: John Wiley
and Sons.

Downloads

Published

2018-05-15

How to Cite

โสตะ ท. (2018). สุขภาวะทางจิต ความคิดเชิงบวก คุณค่าของงาน และความผูกพันต่อองค์การของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (PSYCHOLOGICAL WELL-BEING, POSITIVE THINKING, WORK VALUES AND COMMITMENT TO ORGANIZATION OF THE SECONDARY SCHOOL TEACHERS AT NONT. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 9(18, July-December), 60–71. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/123695