การใช้ประโยชน์ผลผลิตจากป่าริมคลองพระปรง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว (UTILIZATION OF FOREST PRODUCTS IN THE RIPARIAN FOREST ALONG PHRA PRONG CANAL, WATTHANA NAKHON DISTRICT, SA KAEO PROVINCE)

Authors

  • บุญธิดา ม่วงศรีเมืองดี วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • หทัยรัตน์ บุญศรี วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปนัดดา ลาภเกิน วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจรูปแบบการใช้ประโยชน์ผลผลิตจากป่าของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบป่าริมคลองพระปรง อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 100 คน จากทั้งหมด 6 หมู่บ้าน ได้แก่
1) บ้านใหม่ศรีจำปา 2) บ้านท่าช้าง 3) บ้านหนองหมากฝ้าย 4) บ้านทับใหม่ 5) บ้านระเบาะหูกวาง และ 6) บ้านหนองเรือ

            ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 50-59 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาที่ 4 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าบริเวณริมคลองพระปรง (76%) ลักษณะของการเข้าไปใช้ประโยชน์ส่วนมากคือ การเข้าไปจับหาสัตว์น้ำ (24.22%) รองลงมาคือ การเข้าไปเก็บหาผัก/ผลไม้ป่า (22.50%) เก็บหาสมุนไพร (14.88%) และเก็บหาหน่อไม้ (9.34%) มีส่วนน้อยที่เข้าไปเก็บหาไม้ไผ่ เห็ด ฟืน และไม้ใช้สอยจากป่าริมคลองพระปรง โดยผลผลิตจากป่าที่เก็บหามาได้ส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้ภายในครัวเรือน

            ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบคลองพระปรงเห็นด้วยว่า ป่าริมคลองมีความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมในแง่ของการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกและแมลง (93%) ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บริเวณริมคลองมีส่วนช่วยในการชะลอการไหลและกักเก็บน้ำ (87%) และลดการพังทลายของดินตามตลิ่งริมน้ำ (77%) สำหรับความสำคัญทางด้านสังคม ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าป่าริมคลองเป็นพื้นที่สาธารณะทุกคนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ (72%) และความสำคัญทางด้านการใช้ประโยชน์เห็นว่า ป่าริมคลองมีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่ของการเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือน (93%) เป็นแหล่งสมุนไพรของชุมชน (89%) ซึ่งสอดคล้องกับการให้ระดับผลประโยชน์ของป่าริมคลองในด้านการเป็นแหล่งของปัจจัย 4 พบว่ามีค่าสูงที่สุดเท่ากับ 2.68 คะแนน

            ความต้องการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าริมคลองพระปรงพบว่า ประชาชนต้องการให้มีการศึกษาทรัพยากรพันธุ์พืชและสัตว์ รวมทั้งสมุนไพรและวิธีการใช้ประโยชน์ และอยากให้ฟื้นฟูสภาพนิเวศให้คงความสมบูรณ์  มีน้ำที่ได้คุณภาพและมีปริมาณเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของชุมชน นอกจากนี้ เห็นว่าถ้าหากจัดให้มีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณคลองพระปรง จะช่วยสร้างรายได้และทำให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของป่าริมคลองพระปรงส่งผลให้การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากป่าของชุมชนยั่งยืนตลอดไป

 

 

This study aims to investigate the utilization of forest products in the riparian forest along Phra Prong Canal, Watthana Nakhon district, Sa Kaeo province. Data were accessed by using questionnaires for 100 residents of 6 villages located around Phra Prong Canal, including Ban Mai Sri Champa, Ban Tha Chang, Ban Nong Mak Fai, Ban Thap Mai, Ban Rabo Hu Kwang, and Ban Nong Ruea.

Results showed that most respondents were male with ages ranged from 50-59 years. Their educational level was in primary school with main occupations in agriculture. Most respondents used to visit and collect the forest products from Phra Prong riparian forest (76%). The utilization of forest products was mainly classified into fishery (24.22%), vegetables and fruits (22.50%), medicinal plants (14.88%), and bamboo shoot (9.34%). Besides, the other forest products were bamboos, mushrooms, firewood and small timbers. Household uses were responsible for those collected products.

Local people have agreed that Phra Prong riparian forest deserves the habitat for birds and insects (93%). Vegetation along the bank has served to slow the flow of water and provide water storage (87%) and control soil erosion (77%). The riparian forest has provided benefit sharing to local people around Phra Prong Canal (72%) and ensured household food security (93%) and medicinal plants (89%) for the local community. These were confirmed by the level of forest utilization indicating the riparian forest is the source to offer four necessities of human life with the highest score of 2.68.

The opinions of people toward conservation and rehabilitation of Phra Prong riparian forest have indicated that local information on diversity of plants, wildlife, and medicinal plants and its utilization is needed. Reforestation along Phra Prong Canal can enhance the water quality and quantity for the local community supplies. People think that ecotourism can gain local incomes and people’s awareness on role of the forest benefits with significant influence on the success of community forestry.

Downloads

Download data is not yet available.

References

[1] บุญธิดา ม่วงศรีเมืองดี; วันเพ็ญ ก้านอินทร์; ปนัดดา ลาภเกิน; และ ศศิธร โคสุวรรณ. (2558). ความหลากชนิดของพรรณไม้และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าริมคลองพระปรง จังหวัดสระแก้ว. ใน รายงานการประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย “องค์ความรู้ทางนิเวศวิทยาเพื่อการจัดการที่ยั่งยืน”. หน้า 160-168. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก.
[2] ธวัชชัย สันติสุข. (2555). ป่าของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช.
[3] Saint-Laurent, Diane; Hahni, Marlies; St-Laurent, Julien; & Baril, Francis. (2010). Comparative Assessment of Soil Contamination by Lead and Heavy Metals in Riparian and Agricultural Areas (Southern Québec, Canada). International Journal of Environmental Research and Public Health. 7: 3100-3114.
[4] Broadmeadow, Samantha; & Nisbet, Tom. (2004). The Effects of Riparian Forest Management on the Freshwater Environment: a Literature Review of Best Management Practice. Hydrology and Earth System Sciences. 8(3): 286-305.
[5] Gundersen, Per; Lauren, Ari; Finer, Leena; Ring, Eva; Koivusalo, Harri; Saetersdal, Magne; Weslien, Jan-Olov; Sigurdsson, Bjarni D.; Hogbom, Lars; Laine, Jakka; & Hansen, Karin. (2010). Environmental Services Provided from Riparian Forests in the Nordic Countries. AMBIO. 39: 555-566.
[6] Bicalho, Simone T.T.; Langenbach, Tomaz; Rodrigues, Ricardo R.; Correia, Fabio V.; Hagler, Allen; Matallo, Marcus; & Luchini, Luiz Carlos. (2010). Herbicide Distribution in Soils of a Riparian Forest and Neighboring Sugar Cane Field. Geoderma. 158(3): 392-397.
[7] สมหญิง บู่แก้ว; เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ; และ ธวัดชัย ธานี. (2552). ความหลากชนิดของพรรณไม้และการใช้ประโยชน์ผลผลิตจากป่าในป่าชุมชนโคกใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. Environment and Natural Resources Journal. 7(1): 36-50.
[8] เจนจิรา พวงมาลี; และ สันติ สุขสอาด. (2557). มูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่า ในป่าชุมชนบ้านเขาเขียว ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวนศาสตร์. 33(1): 76-84.
[9] สมศักดิ์ สุขวงศ์. (2550). การจัดการป่าชุมชน: เพื่อคนและเพื่อป่า. กรุงเทพฯ: ทวีวัฒน์การพิมพ์.
[10] วนิดา สุบรรณเสณี. (2539). ของป่าของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ส่วนวิจัยและพัฒนาผลิตผลป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.

Downloads

Published

2018-05-15

How to Cite

ม่วงศรีเมืองดี บ., บุญศรี ห., & ลาภเกิน ป. (2018). การใช้ประโยชน์ผลผลิตจากป่าริมคลองพระปรง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว (UTILIZATION OF FOREST PRODUCTS IN THE RIPARIAN FOREST ALONG PHRA PRONG CANAL, WATTHANA NAKHON DISTRICT, SA KAEO PROVINCE). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 9(18, July-December), 84–95. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/123715