อิทธิพลของอัตมโนทัศน์ การกำกับตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อวุฒิภาวะ ทางอาชีพของนิสิตเรียนดี (INFLUENCE OF SELF-CONCEPT, SELF-REGULATION, AND SOCIAL SUPPORT ON CAREER MATURITY OF ACADAMIC DISTINCTION AWARD STUDENTS)

Authors

  • มุทิตา เสตะจิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • งามลมัย ผิวเหลือง สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

Competence, Cross-Cultural

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตมโนทัศน์ การกำกับตนเอง การสนับสนุนทางสังคม
และวุฒิภาวะทางอาชีพของนิสิตเรียนดี และ 2) ศึกษาอิทธิพลร่วมของปัจจัยส่วนบุคคล อัตมโนทัศน์ การกำกับตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อวุฒิภาวะทางอาชีพของนิสิตเรียนดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นิสิตเรียนดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 594 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษาพบว่า 1) นิสิตเรียนดีมีอัตมโนทัศน์ การกำกับตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และวุฒิภาวะทางอาชีพอยู่ในระดับสูง 2) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า เพศ ชั้นปี สถานภาพการครองคู่ของบิดามารดา อัตมโนทัศน์ด้านการรับรู้เกี่ยวกับความสามารถของตนเอง การกำกับตนเองด้านพฤติกรรม
การกำกับตนเองด้านสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนทางสังคมด้านการประเมิน การสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนทางสังคมด้านสิ่งของและบริการ ร่วมกันมีอิทธิพลต่อวุฒิภาวะทางอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 และสามารถร่วมกันอธิบายได้ร้อยละ 45.9 (R2 = .459) และตัวแปรที่สามารถพยากรณ์
วุฒิภาวะทางอาชีพได้ดีที่สุด คือ ชั้นปี โดยนิสิตศึกษาชั้นปีที่สูงขึ้น จะมีวุฒิภาวะทางอาชีพสูงขึ้นด้วย

 

 

The objectives of this study were the following: 1) to study self-concept, self-regulation, social support, and career maturity of academic distinction award students, and 2) to study the influence of self-concept, self-regulation, and social support on career maturity of acadamic distinction award students. Data were collected from 594 acadamic distinction award students at Kasetsart University by using questionnaires, and were analyzed by using statistical methods; percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.

The results were as follows: firstly, self-concept, self-regulation, social support, and career maturity among those acadamic distinction award students were at the high level. Secondly, results from stepwise multiple regression analysis indicated that; independent variables, including sex, year of study, marital status of parent, self-concept in self-ability dimension, self-regulation in behavioral dimension, self-regulation in environmental dimension, social support in appraisal dimension, social support in information dimension, and social support in instrumental dimension had influenced on career maturity with the statistical significance level at .001, and could predict it at 45.9 percents (R2 = .459). Especially, year of study was the best predictor among those factors analyzed; that is the higher year of study, the higher career maturity.

Downloads

Download data is not yet available.

References

[1] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (เดือนเมษายน พ.ศ.
2556). สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2556, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/
lfs56/reportApril.pdf


[2] เนาวรัตน์ เลิศมณีพงศ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำกับตนเองในการทำปริญญานิพนธ์ของนิสิต
บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา).
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[3] ไพบูลย์ บุญล้อม; และ วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์. (2555, พฤษภาคม-ตุลาคม). การพัฒนาวุฒิภาวะทางอาชีพ
ด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่ม สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการศึกษาและ
พัฒนาสังคม. 8(1): 47-60.
[4] Byrne, B.M. (1984). The General/Academic Self-Concept Nomological Network: A Review of
Construct Validation Research. Review of Educational Research. 54: 427–429.
[5] Super, D.E.; Crites, J.O.; and Hummel, R.C. (1957). Vocational Development: A Framework for
Research. New York: Bureau of Publications.
[6] Strang, R. (1957). The Adolescent Views Himself. New York: McGraw-Hill.
[7] Zimmerman, B.J. (1989). A Social Cognitive View of Self-Regulated Academic Learning. Journal
of Educational Psychology. 81(3): 329-339.
[8] House, J.S. (1981). Work Stress and Social Support. Massachusetts: Addison-Wesley.
[9] Barlett, W.E. (1971). Vocational Maturity: Its Past Present and Future Development. Journal of
Vocational Behavior. 1: 217-229.
[10] ประยูรศรี บุตรแสนคม. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). การคัดเลือกตัวแปรพยากรณ์เข้าในสมการถดถอย
พหุคูณ. วารสารการวัดผลการศึกษา. 17(1): 43-60.
[11] ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา. (2543). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตมโนทัศน์หลายมิติกับผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่1 สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์
ศศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[12] อัจฉรา สุขสำราญ. (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกำกับตนเองในการเรียนของนักศึกษา
พยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (พยาบาลสาธารณสุข). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
[13] ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2554, กันยายน-ธันวาคม). ผลของโปรแกรมการฝึกกำกับตนเองและ
การจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การกำกับตนเองในการเรียนรู้
และแรงจูงใจในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 24(3): 279-305.
[14] นุชจิรา สุมณฑา. (2549). ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของนิสิต
ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. วิทยานิพนธ์ วท.ม.
(จิตวิทยาชุมชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[15] วิชุตา นาคเถื่อน. (2551). การศึกษาวุฒิภาวะทางอาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2558, จาก www.northbkk.ac.th/research/themes/
downloads/abstract/Abstract_51_04.pdf
[16] ปรีขา อรุณสวัสดิ์. (2531). บุคลิกภาพความเป็นชายและความเป็นหญิง. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2558,
จาก www.watpon.com/test/m&f.htm


[17] จิรวรรณ เจียมรัตนะ; และ งามลมัย ผิวเหลือง. (2552, มกราคม-มิถุนายน). อิทธิพลของค่านิยมในการ
ทำงานเกษตร ความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคที่มีต่อวุฒิภาวะ
ทางอาชีพเกษตรของนิสิตชั้นปีที่ 4 ของคณะในกลุ่มเกษตรศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์. 35(1): 117-130.
[18] กิ่งแก้ว พูลคลองตัน. (2524). การเปรียบเทียบวุฒิภาวะทางอาชีพของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี
ที่มีภูมิหลังต่างกัน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (จิตวิทยา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[19] ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต. (2549). ครอบครัวแม่หรือพ่อคนเดียว: วิกฤติความมั่นคงที่หลีกเลี่ยงได้. ใน เอกสาร
การประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 2. หน้า 1-4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
[20] ตามพงษ์ วงษ์จันทร์. (2554). รู้ตน ช่วยคนพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2558, จาก www.stou.ac.th/
offices/Oes/Oespage/Guide/career/career_page2/box004.html
[21] Schunk, D.H.; and Zimmerman, B.J. (1998). Self-Regulated Learning: From Teaching to Self-
Reflective Practice. New York: Guilford Press.
[22] สุภาพรรณ โคตรจรัส. (2553). การกำกับตนเองในการเรียน. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2556,
จาก www.stjohn.ac.th/University/Guidance/gan-gum-gab-ton-eng.htm
[23] วิชิต เทพประสิทธิ์. (2549). การยศาสตร์กับการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องเรียนคอมพิวเตอร์.
สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2558, จาก www.gotoknow.org/posts/46080.htm
[24] จงกลวรรณ มุสิกทอง. (2556). การให้ข้อมูลย้อนกลับ. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2558, จาก
www.ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/km/56/km_feedback.html
[25] เกษม รุจิเรจ. (2555). การตัดสินใจเลือกอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2558, จาก http://dnfe5.nfe.go.th
/ilp/42033/42033-4.htm

Downloads

Published

2018-05-15

How to Cite

เสตะจิต ม., & ผิวเหลือง ง. (2018). อิทธิพลของอัตมโนทัศน์ การกำกับตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อวุฒิภาวะ ทางอาชีพของนิสิตเรียนดี (INFLUENCE OF SELF-CONCEPT, SELF-REGULATION, AND SOCIAL SUPPORT ON CAREER MATURITY OF ACADAMIC DISTINCTION AWARD STUDENTS). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 9(18, July-December), 167–178. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/123725