ความเต็มใจจ่ายสำหรับข้าวเสริมแคลเซียม (WILLINGNESS TO PAY FOR CALCIUM-COATED RICE)

Authors

  • อดุลย์ ศุภนัท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

ภาวะโรคกระดูกพรุนยังคงเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญที่พบได้ในหลายประเทศ สาเหตุหลักเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารแคลเซียมไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกในร่างกายลดลง ดังนั้นคณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงได้คิดค้นกระบวนการผลิตข้าวเสริมแคลเซียมด้วยวิธีการเคลือบสารแคลเซียม เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่มีข้อจำกัดในการรับสารแคลเซียม อย่างไรก็ตามข้าวเสริมแคลเซียมยังไม่เคยวางจำหน่ายในตลาดมาก่อน ทางคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงได้ทำการสำรวจตลาดและกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งศึกษาความเต็มใจจ่ายสำหรับข้าวเสริมแคลเซียมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายสำหรับข้าวเสริมแคลเซียม งานวิจัยชิ้นนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ซื้อข้าวสารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 436 ตัวอย่างและหามูลค่าความเต็มใจจ่ายโดยใช้วิธีการประเมินค่าโดยการสัมภาษณ์จากประชาชนโดยตรง (Contingent Valuation Method: CVM) ผลการศึกษาพบว่า ราคาของข้าวสารเสริมแคลเซียมควรมีราคาสูงกว่าราคาของข้าวสารปกติประมาณ 19.19 บาทต่อกก. หรือคิดเป็นร้อยละ 38.38 นอกจากนี้ ผู้ผลิตข้าวสารเสริมแคลเซียมควรพิจารณาใช้ข้าวหอมมะลิ ขนาดบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม คือ 5 กก. โดยกลุ่มผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะซื้อข้าวสารเสริมแคลเซียมได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ กลุ่มผู้บริโภคที่มีอาการแพ้นม กลุ่มผู้บริโภคที่มีสมาชิกในครัวเรือนเป็นโรคกระดูกพรุน หรือหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น  

 

 

Osteoporosis is still a serious problem for numerous countries. It is widely accepted that major cause is calcium insufficiency that leading to decreasing of bone mass density. Thus Faculty of Agricultural Product Innovation and Technology, Srinakharinwirot University designed the method for coating the rice with calcium. According to calcium-coated rice is a new product that has never sold before, Faculty of Economics, Srinakharinwirot University survey willingness to pay for calcium-coated rice and factors that affect to the willingness to pay. Four hundred and thirty-six consumers who potentially purchase the rice and live in Bangkok Metropolitan were collected by Contingent Valuation Method (CVM). The results found that the willingness to pay should be higher than usual rice 19.19 Bath per Kg. or 38.38%. Moreover calcium-coated rice producers should be use jasmine rice and the suitable package is 5 Kg. Furthermore we found that customers tend to be healthy persons, persons with a milk allergy, consumers who have family members with osteoporosis or pregnant women.

Downloads

Download data is not yet available.

References

[1] มัณฑินา จ่าภา. (2556, พฤษภาคม-สิงหาคม). โรคกระดูกพรุนภัยเงียบที่ป้องกันได้. แพทย์สารทหารอากาศ.
2 (59): 68-74.
[2] วิรชัช สนั่นศิลป์. (เมษายน 2556). สถานการณ์โรคกระดูกพรุน ปี 2555: หักครั้งเดียวก็เกินพอ. สืบค้นเมื่อ 11
ตุลาคม 2558, จาก https://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/bone/2218-
2555.html
[3] วิรัตน์ ทองรอด. (ตุลาคม 2549). ล้านคำถามเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกร. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2558,
จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/1588
[4] พรทิพย์ ศิริสุนทราลักษณ์; กัญญารัตน์ รุจิรา รุ่งเรือง; และ เกื้อพันธ์ ชยะสุนทร. (2552). คุณสมบัติทางเคมี
กายภาพของข้าวกล้องหุงสุกเร็วเสริมแคลเซียมที่ผลิตด้วยวิธีการแช่น้ำ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร.
40(3)(พิเศษ): 81-84.
[5] Bateman, I. J., Carson, R. T., Day, B., Hanemann, M., Hanley, N., Hent, T., et al. (2002). Economic
Valuation with Stated Preference Techniques: a Manual. Cornwall: Edward Elgar.
[6] เรณู สุขารมณ์. (2541). วิธีการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่าสินค้าที่ไม่ผ่านตลาด. วารสารเศรษฐศาสตร์
ธรรมศาสตร์. 16(4): 89-117.
[7] Carson, R. T. and Hanemann, W. M. (2005). Handbook of Environmental Economics, Volume 2.
Edited by K.-G. Mäler and J.R. Vincent.Elsevier B.V.
[8] Alberini, A. (1995). Optimal Designs for Discrete Choice Contingent Valuation Surveys: Single-Bound,
Double-Bound, and Bivariate Models. Journal of Environmental Economics and Management.
28: 287-306.
[9] อายุส หยู่เย็น; นิศาชล ลีรัตนากร; และ ชนิตา พันธุ์มณี. (2554). “ศักยภาพด้านการตลาดและความเต็มใจจะ
จ่ายสินค้าเนื้อสุกรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่.” รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
[10] จรินทร์ ชลไพศาล. (2549). ความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับสินค้าเนื้อสุกรอินทรีย์. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[11] Cerda, A. A., Garcia, L. Y., Ortega-Farias, S., & Ubilla, A. M. (2012). Consumer Preferences and
Willingness to Pay for Organic Apples. Ciencia e Investigacion Agraria. 39(1): 47-59.
[12] Haghjou, M., Hayati, B., Pishbahar, E., Mohammadrezaei, R., & Dashti, Gh. (2013). Factors
Affecting Consumers’ Potential Willingness to Pay for Organic Food Products in Iran: Case
study of Tabriz. Journal of Agriculture Science and Technology. 15(2): 191-202.

Downloads

Published

2018-05-15

How to Cite

ศุภนัท อ. (2018). ความเต็มใจจ่ายสำหรับข้าวเสริมแคลเซียม (WILLINGNESS TO PAY FOR CALCIUM-COATED RICE). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 9(18, July-December), 230–240. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/123782