การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตกรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ธารทิพย์ ธรรมสอน และคณะ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อพัฒนารูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนของ กลุ่มแม่บ้านผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ (1) เพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็งของกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร (2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการด้านการผลิตและการตลาดของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (3) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (4) เพื่อพัฒนาระบบการติดตาม ประเมินผล สนับสนุนและรวบรวบข้อมูล เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนวิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 6 กลุ่ม คือ กลุ่มแม่บ้านมอพระธาตุ กลุ่มแม่บ้านเกาะพิมูลพัฒนา กลุ่มแม่บ้านเขาคีริส กลุ่มพัฒนาสตรี กลุ่มแม่บ้านศรีนคร และ กลุ่มน้ำพริกแกง (อสม.)

โดยแบ่งขั้นตอนของการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประมวลสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน การดำเนินการศึกษาใช้วิธีสำรวจข้อมูลการบริหารจัดการเครือข่ายสะท้อนปัญหาผ่านเวทีชาวบ้าน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำแผนปฏิบัติการร่วมกันจากผลการศึกษา พบว่า กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมีปัญหาและความต้องการที่คล้ายคลึงกัน คือ มีปัญหาด้านการจัดการองค์กร ปัญหาด้านการผลิต ปัญหาด้านการตลาด ปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน และระยะที่ 2 เป็นการดำเนินกิจกรรมการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารได้พัฒนาเครือข่ายในลักษณะของการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน จัดประชุมกลุ่มเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ เพื่อหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม ส่วนในระยะที่ 3 เป็นการติดตามประเมินผลการทำงานของเครือข่าย จากการสังเกต พบว่า กลุ่มมีความเป็นเครือข่ายที่ค่อนข้างจะต่อเนื่อง เนื่องจากในปัจจุบันกลุ่มยังคงมีการติดต่อสื่อสารถึงกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุย ฝากสินค้าไปขาย ซึ่งกันและกันตลอดเวลา

 

ABSTRACT

The purpose of this study is to develop the female workers’ network in the food enterprise community of Kamphengphet province. The purpose of the research is to: 1. To develop a strong food community enterprise network. 2. To develop production and market management. 3. To develop the learning processes of the members in the community enterprise network. 4. To develop an evaluation and information gathering system. This research type is qualitative, using the method of Participatory Action Research: PAR. There are 6 sample group: the Mo-Prathad group, the Ko-Piboon Pattana group, the Koa Kiris group, the Women’s Development group and the Nam-prik-keng group.

The study is divided into 3 parts. First, it evaluates the problems and needs of the community. The research was conducted by observing and gathering information from different local discussion group, and used the result to develop plans. The second part tries to create activities in order to improve the management of food products. The researcher has developed a network by conducting seminars, intemships, and discussion groups. The last part evaluates the community networks that are quite active because their members consistently communicate to each other.

Article Details

Section
-