การพัฒนาตัวแบบการบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทย

Main Article Content

พรชัย ฐีระเวช

Abstract

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยได้ศึกษารูปแบบการบริหารการคลังของ อปท. ในประเทศไทยในปัจจุบัน และสามารถสังเคราะห์เป็นตัวแบบสามเหลี่ยมการบริหารการคลังด้านรายจ่ายของ อปท. (The Triangular Model in Local Expenditure Management: Triple LC) ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ ปัจจัย หรือกลไกที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ประชาชนในท้องถิ่น (Local Citizen) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร อปท. (Leadership) กฎและระเบียบ (Laws and Regulations) ที่ทำให้การบริหารรายจ่ายของ อปท. มีความครบถ้วน (Comprehensiveness) ความตรงตามวัตถุประสงค์ (Compliance with Obligation) และความคุ้มค่า (Cost-Value Relationship) พร้อมทั้งได้จัดทำข้อสนับสนุน/ข้อควรระวังของการบริหารการคลังด้านรายจ่ายของ อปท. ให้สอดคล้องกับตัวแบบข้างต้น

ทั้งนี้ ผู้วิจัยเชื่อว่าการศึกษาดังกล่าว จะช่วยให้ได้ตัวแบบบริหารการคลังรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับ อปท. ในประเทศไทย และการเชื่อมและประสานนโยบายการบริหารการคลังของรัฐบาลและ อปท. ผ่านตัวแบบการบริหารการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อเสนอให้มีการศึกษาตัวแบบการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นปัจจัยนำเข้าในการบริหารการคลังท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพต่อไป

 

ABSTRACT

This Study is intended to develop the fiscal management model for local authorities in Thailand. The study has analyzed the limitations of local fiscal management in present and data collected from the in-depth interviews with the local councilors, local government executives and staffs, and stakeholders by concentrating on the expenditures. As the result, the study has synthesized the outcome of the study into “the Triangular Model in Local Expenditure Management : Triple LC”.

The model can be used to explain the related mechanism between the local citizen, leadership of the local government officials and the laws and regulations involved which would create the Comprehensiveness, Compliance with Obligation and Cost-Value Relationship for the expenditure management of the local governments. In addition, the study also provides proposals and awareness inline with the proposed model.

In conclusion, it is believed that the study has developed an appropriate model for fiscal management for the Thai local governments. The suggested model should create efficiency in bridging the central government policy with local government fiscal managements. Lastly, it is strongly recommended that the further study to determine the appropriated developing strategic model for local government is needed to maintain the efficiency of the fiscal management of the local government.

Article Details

Section
-