การเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

สุภา นันทะมีชัย
ศิริ ฮามสุโพธิ
ชาตรี นาคะกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แสวงหาแนวทางหรือยุทธศาสตร์ และประเมินแนวทางหรือยุทธศาสตร์ที่ค้นพบในการเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย วิธีดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ

ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติ ประชากรได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนจำนวน 11 หมู่บ้าน 1,053 ครัวเรือน โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง หมู่บ้านละ 5 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 55 ครัวเรือน จำนวน 55 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เพื่อสอบถามหาสาเหตุของปัญหาจากการปฏิบัติในกิจกรรมตัวชี้วัด 6 ด้าน คือ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การประหยัด การเรียนรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเอื้ออารีโดยให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือด้านความรู้ความเข้าใจ เจตคติและด้านการปฏิบัติ จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนทั้งในด้านความรู้ความเข้าใจ เจตคติและด้านการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 3.50 ซึ่งถือว่ายังมีปัญหาในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ระยะที่ 2 เป็นการแสวงหาแนวทางหรือยุทธศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 คน ดำเนินการวิจัยโดยประชุมกลุ่มระดมสมองเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์และหาข้อสรุปนำไปกำหนดเป็นแนวทางหรือยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างการปฏิบัติของประชาชน ผลการประชุมพบว่า แนวทางหรือยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 8 แนวทาง หรือยุทธศาสตร์ได้แก่ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหรือแบบเข้ม การสร้างศูนย์การเรียนรู้ การรวมกลุ่มหรือสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก การทำบัญชีครัวเรือน การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน และการเสริมสร้างภาวะผู้นำของหัวหน้าครัวเรือน

ระยะที่ 3 เป็นการประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางหรือยุทธศาสตร์ที่ค้นพบในระยะที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและความเป็นไปได้ในการนำยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปปฏิบัติ ของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าแนวทางหรือยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ในการนำยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากเช่นกัน

 

ABSTRACT

The objectives of this study are to examine the operational problems based on sufficient economic philosophy, to seek and formulate the strategy for solving these problems and to evaluate the strategic approach within Tambon NongKomKor Amphur Muang Changwat Nongkai.

This research methodology has divided into three phases as followings.

The first phase is the identifying the operational problems. The 55 samples are purposively drawn from a 1,053 households, that are located in 11 Mubans of  Tambon NongKomKor, Amphur Muang Changwat Nongkai. The data are collected via personal interview questionnaires. The questionnaires consist of decreasing expenditure, increasing revenue, thrift, continuous learning, conserving resource and environment, and spontaneous measures. These measures are mostly covered three dimensions such as cognition, attitude and action. According to data analysis and interpretation, the scores are as lower as 3.50. These are the problems in practice sufficient economic philosophy in Tambon NongKomKor.

The second phase involves the action research approach. To seek and formulate the strategies, 13 professionals, who are stakeholders responsibility for political, educational religious sectors, are selected to discuss and brain-storming. They collaborate in analysis, synthesis and conclusive the appropriate strategies with enhancing the community capabilities. The results show that there are 8 strategic approaches for enhancing the capability of this community. These strategies include intensive course training, establishing learning center, participation in activities, awareness campaign, record their household accounts, sharing vision, and improving leadership of each head of households.

The third phase involves the evaluating the strategic approaches in the second phase. The research instrument is a questionnaire that asks 13 peer reviewers, who are purposively selected, to rating their opinion towards the appropriate and possibility of the strategic approaches. The results show that the opinion towards the appropriate and possibility of the strategic approaches are high levels. These suggest that the philosophy of sufficiency economy most likely enables local communities to practice sustainable. This has yielded fruitful results for the Thailand economy especially local communities.

Article Details

Section
-