แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2

Main Article Content

ดำรงค์ โตใย
ปรีชา อ่วมปัญญา
ธีระ ภักดี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก   เขต  2  เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก  เขต  2  และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก   เขต  2   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา  และครูในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก  เขต  2  ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปีการศึกษา  2549  จำนวน  184   คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  และแบบสัมภาษณ์   วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1.  สภาพการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก  เขต  2  โดยภาพรวม  อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  โดยที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการบริหารบัญชี รองลงมาคือ  ด้านการบริหารการเงิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอันดับสุดท้ายคือ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ

2.  ปัญหาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก  เขต  2  ในภาพรวม  3  ลำดับ  คือ  ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ   ด้านการตรวจสอบ  ติดตาม  ประเมินผล   และรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน   และด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา

3.  ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก  เขต  2  ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทางการพัฒนาของแต่ละด้านในลำดับแรก ดังต่อไปนี้

3.1  ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ

1)  ส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน (SWOT)  เพื่อการจัดทำงบประมาณ

2)  ส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ งบประมาณของสถานศึกษาเพื่อเป็นต้นทุนผลผลิตของสถานศึกษา

3)  เขตพื้นที่การศึกษาควรให้ความสำคัญในการจัดทำและเสนองบประมาณ และร่วมกันวิเคราะห์ความต้องการร่วมกับโรงเรียนเพื่อให้สามารถจัดทำแผนงบประมาณได้ตามความต้องการจริงๆ

3.2   ด้านการจัดสรรงบประมาณ

1)  โรงเรียนควรตรวจสอบและวิเคราะห์โครงการ/กิจกรรม แล้วกำหนดแผนปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรม

2)  ผู้บริหารควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงคุณค่าของการจัดทำแผนงาน/โครงการ โดยกำหนดให้เป็นนโยบายของโรงเรียน

3)  ผู้บริหารควรอธิบาย ชี้แจงทำความเข้าใจกับบุคลากรภายในโรงเรียนให้เห็นความสำคัญ ความจำเป็นของการกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุนผลผลิต

3.3   ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล  และรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน

1)  ฝ่ายบริหารจัดประชุมชี้แจงให้คณะครู และบุคลากรทางการศึกษารับทราบ ในการจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จผลผลิตของสถานศึกษา และกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกัน เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติงาน

2)  ผู้บริหาร และบุคลากรภายในโรงเรียนร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จผลผลิตของสถานศึกษาร่วมกัน

3)   ตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนตรวจสอบ ติดตาม การใช้เงินงบประมาณทั้งในและนอกงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงินและแผนปฏิบัติงานประจำปี และให้มีการนำเสนอผลการติดตามในที่ประชุมประจำเดือน

3.4  ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา

1)  โรงเรียนภายในกลุ่มร่วมกันสำรวจทรัพยากรที่มี รวมทั้งบุคลากร  และให้มีการทำงานและใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยให้ประธานกลุ่มโรงเรียนเป็นผู้กำหนดผู้รับผิดชอบและร่วมกันบริหารงาน

2)  นำเสนอผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาและปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ และวางแผนระดมทรัพยากรทางการศึกษา

3)  ให้โรงเรียนวิเคราะห์แหล่งทรัพยากรต่างๆที่มีในโรงเรียน และจัดทำเป็นข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ และส่งต่อข้อมูลเพื่อให้ประธานกลุ่มโรงเรียนรวมรวมไว้เป็นแหล่งข้อมูลกลาง เพื่อให้สะดวกในการประสานความร่วมมือภายในกลุ่มโรงเรียน

3.5  การบริหารการเงิน

1)  จัดประชุมเพื่อชี้แจง เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในสถานศึกษาทราบหลักการ นโยบายการบริหารการเงิน และการควบคุมงบประมาณ

2)  จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติอธิบายนโยบายการบริหารการเงินและการควบคุมงบประมาณที่มีรายละเอียดถูกต้อง ครบถ้วน สามารถนำไปปฏิบัติได้

3.6  การบริหารบัญชี

1)  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยเชิญบุคลากรที่มีความรู้ด้านการทำบัญชีจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือจากกรมบัญชีกลางมาร่วมกันจัดทำคู่มือมาตรฐานการบริหารทางบัญชี ที่อธิบายถึงหลักการ แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องและชัดเจน

2)  สร้างเครือข่ายให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาสำหรับโรงเรียนที่อยู่ในเขตใกล้เคียงกัน

3)  เขตพื้นที่การศึกษาต้องจัดการอบรมประชุมสัมมนาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีเพื่อให้สถานศึกษาได้ทราบแนวปฏิบัติและระเบียบการบริหารงานการเงินที่กำหนดมาใหม่

3.7  การบริหารพัสดุและสินทรัพย์

1)  ให้สถานศึกษาทำข้อมูลการบริหารสินทรัพย์ให้เป็นปัจจุบัน  และครบถ้วนเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาระบบการบริหารสินทรัพย์ การเงินและพัสดุ

2)  ผู้บริหารควรสนับสนุนและจัดให้มีระบบสารสนเทศที่สามารถรองรับการพัฒนาระบบการบริหารสินทรัพย์  มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน

 

คำสำคัญ : แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณ

 

ABSTRACT

The  purposes  of  this  research  were  to  1)  study  the  condition  of  the  budget    operation  of  schools  under  Tak  educational  service  area  2  office.  2)  study  the  problems  of  the  budget  operation  of  schools  under  Tak  educational  service  area  2  office.  3)  study  the  guidelines  to  develop  schools’  budget  operation.  The  subjects  consisted  of  184  administrators  and  teachers  from  schools  under  Tak  educational  service  area  2  office  in  academic  year  2006.  The  research  instruments  were  rating  scale  questionnaire  and  interview.  The  data  was  analyzed  using  the  mean,  the  standard  deviation  and  the  content  analysis  technique.

The  research  findings  were  as  follows  :

1.  In  general,  the  condition  of  the  budget  operation  of  schools  under  Tak  educational  service  area  2  office  was  at  a  high  level.  When  considered  each  aspect,  all  aspects  were  at  high  level.  The  highest  mean  was  accountant  administration  and  money  administration  respectively.  Budget  allocation  was  the  lowest  mean.

2.  In  general,  the  problems  of  the  budget  administration  of  fundamental  schools  under  Tak  educational  service  area  2  office  were  budget  allocation,  budget  evaluation  and  expense  reports  and  resource  mobilizing  and  educational  funds.

3.  The  experts  suggested  the  guidelines  to  develop  the  budget  administration  of  fundamental  schools  under  Tak  educational  service  area  2  office  as  follows  :

3.1  Budget  allocation  were;

1)  Supporting  school  analysis  (SWOT)  for  budgeting.

2)  Supporting  budget  analysis  for  product  costing.

3)  Emphasizing  on  budget  allocation  and  analyzing  budget  allocation  with  schools.

3.2  Budget  providing  were  that;

1)  Schools  should  check  and  analyze  projects  or  activities  and  set  performance  plans.

2)  Administrators  should  make  schools’  policy  on  the  value  of planning  and  projects.

3)  Administrators  should  emphasize  the  importance  of  product  costing.

3.3  Budget  evaluation  and  expense  reports  were  that;

1)  The  administrators  inform  personnels  of  key  performance  indicators  of  schools  and  also  let  the  indicator  the  commitment  of  performance.

2)  The  administrators  and  personnels  participate  in  setting  the  goals  of  key  performance  indicators.

3)  Appointed  supervising  checking  committees  to  follow  up  budget  spending  both  internal  and  external  budget  to  be  suitable  for  expense  planning  and  annual  planning.  The  committee  present  the  results  of  evaluation  at  the  monthly  meeting

3.4  Resource  mobilizing  and  educational  funds  were  that;

1)  A  group  of  schools  cooperate  in  surveying  of  schools’  resource  and  personnels.  The  leader  of  school  group  appoint  the  personnels  to  take  care  of  resources.

2)  Schools  present  the  results  of  educational  performance  and  also  the  problems  of  insufficient  educational  resources  to  school  boards  in  order  to  let  them  analyze  educational  resources  mobilizing.

3)  Schools  should  analyze  the  resources  in  school  and  the  data  should  be  systematically  recorded.  Schools  should  present  the  data  to  the  leader of  school  group  for  collecting  in  resource  center.

3.5  Money  administration  were  that;

1)  Indicating  personnels  of  know  money  administration  and  budget  control.

2)  Setting  budget  administration  manual  for  personnels.

3.6  Accountant  administration  were  that:

1)  Inviting  the  expert  people  from  the  office  of  educational  service  or  the  comptroller  general’s  Department  for  workshop  and  making  standard  accountant  administration  manual,  which  consisted  of  right  guidelines.

2)  Setting  helping  network  for  nearby  schools.

3)  Establishing  continuous  seminars  every  year  in  order  to  let  personnels  know  new  money  administration

3.7  Supply  and  property  administration  were  that  ;

1)  The  data  of  supply  and  possessions  should  be  presented  and  corrected

2)  The  administrators  should  support  information  system  for  property administration.

Key Words : Guidelines  for  Development  of  Budget  Administrative Operation


Article Details

Section
-