การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับครูผู้สอนในระดับช่วงชั้นที่ 2

Main Article Content

กนกวรรณ อินทรสูต
อารีรักษ์ มีแจ้ง
บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2  2)สร้างหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2  3) ประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2 ซึ่งมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในช่วงชั้นที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 169  คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2 ประเมินค่าความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2 โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากแบบประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2 ของผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในช่วงชั้นที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ที่มีความสนใจสมัครเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับครูในช่วงชั้นที่ 2  แบบประเมินการสาธิตการสอนการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2 และ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ครูผู้สอนส่วนใหญ่สอนวิธีการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษให้กับนักเรียน โดยมีวิธีการนำเสนอคำศัพท์หลายๆคำที่มีเสียงที่ต้องการสอนแล้วให้นักเรียนสังเกตการออกเสียงนั้นๆและฝึกออกเสียงด้วยตนเอง และออกเสียงโดยการสาธิตแสดงรูปปากและวิธีการออกเสียงคำศัพท์อย่างช้าๆ ชัดๆ  ซึ่งกิจกรรมที่ครูใช้ในการฝึกการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนนั้น ครูส่วนใหญ่ฝึกโดยใช้การอ่านออกเสียงเป็นคู่ และสื่อการสอนที่ครูใช้ในการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนนั้นสอนโดยใช้บัตรคำ และแถบประโยค ปัญหาการสอนอ่านออกเสียงของครูผู้สอน ในระดับตัวอักษรนั้นครูผู้สอนมีปัญหาในการออกเสียงพยัญชนะบางตัว การอ่านออกเสียงในระดับคำ ครูผู้สอนไม่เข้าใจการออกเสียงคำที่เติม ed อยู่ท้ายคำนั้น ส่วนปัญหาการอ่านออกเสียงในระดับประโยคและระดับข้อความสั้นๆ  ได้แก่ การออกเสียงเชื่อมระหว่างคำในประโยคไม่ถูกต้อง  และไม่ทราบหลักการออกเสียงหนัก-เบาในข้อความ และมีความต้องการฝึกอบรมในเรื่องของการออกเสียงที่เป็นปัญหา การจัดกิจกรรมการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ เทคนิคการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หลักการอ่านสัทอักษร การจัดทำสื่อประกอบการสอนอ่านออกเสียง และการวัดและประเมินผลการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ในด้านรูปแบบการฝึกอบรมต้องการรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่เน้นการปฏิบัติจริง และฝึกอบรมการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษในวันและเวลาราชการ

2. หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีองค์ประกอบดังนี้ คือ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ โครงสร้างของหลักสูตร หน่วยการฝึกอบรม กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผล และผลการประเมินค่าความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2 จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

3. การประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2  พบว่า

3.1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.2 ทักษะการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อแยกพิจารณาเป็นรายประเด็นในด้านการวางแผนการสอนของครู วิธีการสอนของครู สื่อการสอน และการวัดและประเมินผล พบว่าอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ตามลำดับ

3.3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นที่ 2 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อแยกพิจารณาเป็นรายประเด็น ทั้งด้านปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิตก็อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน

คำสำคัญ   : การพัฒนาหลักสูตร, การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ, การสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ

 

ABTSTRACT

The purposes of this research were 1) to obtain the fundamental information to develop a workshop training course on teaching of English reading aloud for the second key stage teachers, 2) to develop a workshop training course on teaching of English reading aloud for the second key stage teachers and 3) to implement a workshop training course on teaching of English reading aloud for the second key stage teachers. The study was divided into 3 steps as follows:

Step 1 : To obtain the fundamental information to develop a workshop training course on teaching of English reading aloud for the second key stage teachers. The sample consisted of 169 teachers of Kamphaeng Phet educational service area office 2 during the first semester of 2007 academic year. The research instrument was a questionnaire.

Step 2 : To develop a workshop training course on teaching of English reading aloud for the second key stage teachers. The developed training course was then examined by five experts for its accuracy, clarity and congruency. The instrument used in this step was an evaluation form.

Step 3 : To implement a workshop training course on teaching of English reading aloud for the second key stage teachers. The sample was 50 second key stage English teachers who voluntarily joined the training. The research instruments were an English reading aloud test and a questionnaire.

The results of this research were as follows :

1. Concerning the methods and technique used in teaching reading aloud, it was found that most of the teachers started by presenting new words, students observed and practiced later. For the demonstration of pronunciation, teachers pronounced the words clearly by moving their mouth slowly.  Most of the activities were done in pairs, and in small groups. The materials used were flash cards and sentences strips. Teachers’ problems in teaching were due to their lack of knowledge in pronunciation. A letter level, teachers reported that they could not pronounce some sounds clearly; at a word level they did not know how to pronounce the ending in -ed words; and at a sentence level, they had problems with linking sound, stress and intonation. Based on the needs for training they wanted to be trained in pronouncing problematic sounds, organizing class activities and teaching techniques, understanding phonetics symbols, creating instructional materials and constructing evaluation tools.

2. A workshop training course on teaching of English reading aloud for the second key stage teachers was consisted of 1) principles, 2) objectives, 3) curriculum structure,  4) training units, 5) training activities, 6) training materials  and 7) evaluation. The course was rated by the experts for its quality, accuracy and it was found that it was appropriate at a high level.

3. The implementation of a workshop training course on teaching of English reading aloud for the second key stage teachers, it was found that :

3.1 The average scores on the English reading aloud abilities of the trainees increased significantly from the pre-test to the post-test

3.2 The trainees’ skill in teaching of English reading aloud was appropriated at a high level.

3.3 The trainees’ opinions towards the training course in terms of its input, process, and products were at a high level.

Key Words : The Curriculum Development, The Development of a Workshop Training Course, Teaching of English Reading Aloud

Article Details

Section
-