ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีม ตามการรับรู้ของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย

Main Article Content

สุวัฒน์ อินทวงศ์
นพพร โฆสิระโยธิน
ชาตรี นาคะกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีม ตามการรับรู้ของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย จำนวน 313 คน  เลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีการของเซฟเฟ่และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน คำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนทุกกลุ่มประสบการณ์ อยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนทุกกลุ่มประสบการณ์ ไม่แตกต่างกัน

3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนทุกขนาดโรงเรียน อยู่ในระดับมาก

4. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนทุกขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนทุกกลุ่มประสบการณ์ อยู่ในระดับมาก

6. ผลการเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอน ทุกกลุ่มประสบการณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

7. การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนทุกขนาดโรงเรียน อยู่ในระดับมาก

8. ผลการเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนทุกขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

9. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

ABSTRACT

The purposes of this study were 1) to investigate and compare the change agent leadership of school administrators as the perception of teachers categorized by experience and school sizes, 2) to investigate and compare teamwork of school administrators as perceived by teachers categorized by experience and school sizes and 3) to investigate the relationship between the change agent leadership and teamwork as perceived by secondary school teachers categorized by experience and school sizes. The subjects comprised 313 teachers in secondary schools under the Office Nongkhai Educational Service Area using stratified random sampling based on school size. A 5 level rating scale questionnaire was administered the data of the change agent leadership and teamwork of school administrators. The reliabilities were 0.92 and 0.94 respectively. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and one – way ANOVA. Then Scheffe’s method and Person product-moment correlation coefficient were also employed by using the Statistical Package for the social Sciences (SPSS for windows).

The results were as follows:

1. The teachers’ perception in every experience group on change agent leadership of secondary school administrators was rated at the high level.

2. There was no difference when compared change agent leadership of secondary school administrators as teachers’ perception in every experience group.

3. The teachers’ perception in every school size on the change agent leadership of secondary school administrators was rated at the high level.

4. There was significant difference at the .01 level when compared the change agent leadership of secondary school administrators as the teachers’ perception in every school size

5. The teachers’ perception in every experience group on teamwork of secondary school administrators was rated at the high level.

6. There was significant difference at the .05 level when compared teamwork of secondary school administrators as the teachers’ perception in every experience group.

7. The teachers’ perception in every school size on teamwork of secondary school administrators was rated at the high level.

8. There was significant difference at the .05 level when compared teamwork of secondary school administrators as the teachers’ perception in every school size.

9. The teachers’ perception in the whole aspect on the change agent leadership and teamwork of secondary school administrators correlated at the high level and there was significant difference at the .01 level.

Article Details

Section
-