ความต้องการใช้บริการศูนย์ฝึกอบรมสารสนเทศชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก ของนายก อบต. เขตจังหวัดตาก

Main Article Content

สุภี สุกิตนิยากรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการใช้บริการศูนย์ฝึกอบรมสารสนเทศชุมชนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตากของนายก อบต. เขตจังหวัดตาก และความคิดเห็นของนายก อบต. ที่ให้ชุมชนเข้ารับการฝึกอบรมโดยพิจารณาจากสภาพของศูนย์ฝึกอบรม/มหาวิทยาลัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วยนายก อบต. 55 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลาก (Drawing Sampling) ร้อยละ85 ของนายกอบต.ทั้งหมด 47 คน

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าร้อยละเรียงอันดับ ค่าเฉลี่ย (\bar{X}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรม SPSS For Window

ผลการวิจัยพบว่า นายก อบต. 46 คน มีความต้องการให้ชุมชนเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพสาขาคหกรรมศาสตร์ โดยวิชาชีพที่มีความต้องการและจำเป็นมากกว่าด้านอื่นคือ คหกรรมศาสตร์ สำหรับวิชาชีพด้านการตลาดต้องการฝึกอบรมเรื่องการบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าOTOP วิชาชีพด้าน การจัดการทั่วไป ต้องการฝึกอบรมเรื่อง การจัดทำแผนธุรกิจ วิชาชีพด้านการบัญชีต้องการฝึกอบรมเรื่อง บัญชีต้นทุนเบื้องต้น วิชาชีพด้านระบบสารสนเทศต้องการฝึกอบรม เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น วิชาชีพด้านการท่องเที่ยวต้องการฝึกอบรมเรื่อง ภาษาอังกฤษเพื่อมัคคุเทศก์ วิชาชีพด้าน คหกรรมศาสตร์ทั่วไป – ธุรกิจงานประดิษฐ์ ต้องการฝึกอบรมเรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น วิชาชีพด้านอาหารและโภชนาการ– ธุรกิจอาหารต้องการฝึกอบรม เรื่องการแปรรูปจากพืชผักและเนื้อสัตว์ วิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต้องการฝึกอบรมเรื่อง การใช้งานอินเตอร์เน็ต วิชาชีพด้านเครื่องจักรกลต้องการฝึกอบรม เรื่อง การบริการเครื่องยนต์เพื่อการเกษตร วิชาชีพด้านการออกแบบเครื่องเรือนต้องการฝึกอบรมเรื่อง งานหัตถกรรมสิ่งประดิษฐ์พื้นบ้านที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ (ถัก ทอ ปั้น) วิชาชีพด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคม ต้องการฝึกอบรมเรื่อง การกระจายข่าวสารด้วยหอกระจายข่าว วิชาชีพด้านก่อสร้าง (โยธา) ต้องการฝึกอบรมเรื่อง การตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง วิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ต้องการฝึกอบรมเรื่อง โปรแกรม word วิชาชีพด้านวิศวกรรมอุตสาหการต้องการฝึกอบรมเรื่อง วิธีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลเบื้องต้น และวิชาชีพด้านวิศวกรรมไฟฟ้า–ไฟฟ้ากำลังต้องการฝึกอบรมเรื่องการติดตั้งระบบไฟฟ้าในอาคาร ส่วนระยะเวลาที่ชุมชนต้องการเข้ารับการฝึกอบรม 1–5 วัน และต้องการให้ศูนย์ฝึกอบรมสารสนเทศชุมชนของมหาวิทยาลัยจัดฝึกอบรมในแต่ละสาขาประมาณปีละ 1–3 ครั้ง นอกจากนี้ต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดที่พักให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ด้านความคิดเห็นของ นายก อบต.ที่ให้ชุมชนเข้ารับการฝึกอบรมโดยพิจารณาจากสภาพของศูนย์ฝึกอบรม/มหาวิทยาลัย ดังนี้ การเข้ารับการฝึกอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระดับความคิดเห็นมากที่สุด มีวิชาชีพให้เลือกหลายสาขา การใช้งบประมาณในการฝึกอบรมของศูนย์ฝึกอบรม/มหาวิทยาลัย การให้ความรู้/ฝึกอบรมโดยบุคลากรของมหาวิทยาลัย ความรู้ความสามารถและความน่าเชื่อถือของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในการให้ความรู้/ฝึกอบรม และความพร้อมทางด้านสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์และครุภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย ระดับความคิดเห็นมากส่วนการใช้งบประมาณในการฝึกอบรมของ อบต. การประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ด้านการฝึกอบรมทางวิทยุ การประชาสัมพันธ์ด้านการฝึกอบรมทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และการประชาสัมพันธ์โดยเอกสารของมหาวิทยาลัยระดับความคิดเห็นปานกลาง

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to study the need of the Chief Executives of Subdistrict Administrative Organization (CESAO) in Tak Province towards the use of the Community IT-Training Center (CITTC) of Rajamangala University of Technology Lanna, Tak (RMUTL). And to study CESAO opinions on community training considering CITTC and the university aspects .

The samples obtained through the use of the drawing sampling method comprised 46 CESAO which were 85 percent of the total population.

The tools being employed were percentage, arithmetic mean, standard deviation, and SPSS program for Windows.

The results show that the 46 CESAO would like communities to attend the training on home economics, and the vocation highly required and necessary to communities was also home 99 economic The training topics varied according to vocational areas : on marketing, an OTOP packaging ; on management, business planning; on accounting, basic cost accounting, on information systems, the use of the Internet ; on tourism, English for guides ; on general home economics – handicraft business, transformation of local materials ; on food and nutrition – food business, meat and vegetable transformation ; on computer technology, the use of the Internet ; on machinery, mechanical service for agriculture ; on furniture design, handicrafts and local products made from natural materials (knitting, weaving, molding) ; on telecommunication technology, broadcasting information from a broadcasting tower ; on construction, checking and supervising construction ; on computer engineering, Microsoft Word application ; on industrial engineering, basic maintenance of machines ; on electrical engineering – electrical power, the installation of electrical systems in a building. The suitable training duration was from one to five days, and each vocational area required training one to three times a year. In addition, the university was requested to provide accommodation for trainees.

In regards to implementation of the training, opinions of the 46 CESAO were as follows ; Free charges for the training was the highest priority. Various vocational areas, CITTC budgeting, the university training staff’s knowledge and ability to train, as well as their capacity and reliability, and the necessary tools, equipment and location were the next highest priorities. At a fair priority level were SAO budget expenditure for the training and publicizing and advertising the training through radio, local newspapers and university outlets.

Article Details

Section
-