ผลของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการนำเสนอข้อความรู้ด้วยผังกราฟิกและความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นงค์ลักษณ์ ทองมาศ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนที่ใช้เทคนิคผังกราฟิก ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาความสามารถในการนำเสนอข้อความรู้ด้วยผังกราฟิกวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนที่ใช้เทคนิคผังกราฟิก 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนที่ใช้เทคนิคผังกราฟิก

ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนบ้านหนองประเสริฐ อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความสามารถในการนำเสนอข้อความรู้ด้วยผังกราฟิก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนที่ได้รับการสอนที่ใช้เทคนิคผังกราฟิก มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. นักเรียนที่ได้รับการสอนที่ใช้เทคนิคผังกราฟิก มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน 29.25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 73.13 ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70

3. นักเรียนที่ได้รับการสอนที่ใช้เทคนิคผังกราฟิก มีคะแนนความสามารถในการนำเสนอข้อความรู้ด้วยผังกราฟิกเฉลี่ย 29.90 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.75 ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70

4. นักเรียนที่ได้รับการสอนที่ใช้เทคนิคผังกราฟิก มีคะแนนความคงทนในการเรียนรู้เฉลี่ย 29.75 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.38 ซึ่งไม่น้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน

 

ABSTRACT

The purposes of this research were 1) to compare the science learning achievement of students before and after being taught by the using graphic organizer technique, 2) to study the ability of knowledge presentation by science graphic organizers of students taught by using the graphic organizer technique, 3) to study the science learning retention of students who were taught by using graphic organizers.

The research was carried out by one group pretest – posttest design. The sample group of this research was of 20 Prathom 6 students, studying in the second semester of the academic year of 2005, Ban Nong Prasert School, Nongsaeng District, Udon Thani Province. The research instrument were the teaching schedule, learning achievement test and ability test of knowledge presentation. The data were analyzed by mean, percentage, and t-test. The research result were found as follows.

1. The students who were taught by using the graphic organizer technique got higher learning achievement scores after than before the experiment with the significant difference at the .01 level.

2. The students who were taught by using the graphic organizer technique got the after learning achievement scores of 29.25 points or 73.13 percent, which was not less than 70 percent.

3. The students who were taught by using graphic organizers technique got the ability test scores of knowledge presentation of 29.90 points or 74.75 percent, which was not less than 70 percent.

4. The students who were taught by using the graphic organizer technique got the learning retention of scores of 29.75 points or 74.38 percent, which was not less than the learning achievement after the experiment.

Article Details

Section
-