ปัญหาของการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดีย: อัมเบดการ์ศึกษา, ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชนนอกวรรณะ และการศึกษาซับบอลเทิร์น: ทางเลือกของการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดีย

Main Article Content

พิทธิกรณ์ ปัญญามณี

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาแบบสำรวจเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับอัมเบดการ์ศึกษา,ประวัติศาสตร์กลุ่มชนนอกวรรณะ และการศึกษาแบบซับบอลเทิร์น นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าเหตุใดกลุ่ม ซับบอลเทิร์นจึงได้มองข้ามอัมเบดการ์ศึกษา และประวัติศาสตร์กลุ่มชนนอกวรรณะ


ซับบอลเทิร์น (Subaltern Studies) ก่อตั้งขึ้นเพื่อใช้อธิบายสังคมอินเดียจากประชาชนระดับล่าง ซึ่งซับบอลเทิร์นได้สร้างความแตกต่างให้แก่การเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดียโดยราชิต คุฮา ถึงแม้ว่า คุฮาและเพื่อนร่วมงานของเขาในกลุ่มซับบอลเทิร์นจะให้การยืนยันว่า คำนิยามของซับบอลเทิร์นได้ครอบคลุมเรื่องราวเหล่านี้ทั้งที่เป็นชนชั้น ระบบวรรณะ เชื้อชาติ ภาษา สตรี และอื่นๆ ในทางตรงกันข้ามบทความ ทางวิชาการจำนวนมากของซับบอลเทิร์นได้ มองข้ามอัมเบดการ์และกลุ่มชนนอกวรรณะไป เนื่องด้วยเหตุนี้ การมองข้ามดังกล่าวจึงเป็น สาเหตุหนึ่งของการเสื่อมสลายของกลุ่มซับบอลเทิร์นในเวลาต่อมา


อย่างไรก็ตาม อัมเบดการ์ศึกษาและประวัติศาสตร์กลุ่มชนนอกวรรณะมีความพิเศษในแง่ของประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดีย เพราะทั้งสอง แนวทางนี้เป็นหนึ่งในประเภทการศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับซับบอลเทิร์น ในความเป็นจริง ดร.อัมเบดการ์ เกิดในครอบครัวที่มีสถานะเป็น กลุ่ม ชนนอกวรรณะ และมีแนวความคิดด้านการยกเลิกระบบวรรณะของเขา ในเวลาต่อมาได้ส่งผลให้เขาเป็นผู้นำกลุ่มชนนอกวรรณะที่มีบทบาท สำคัญในศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ ดร.อัมเบดการ์ ยังได้สนับสนุนให้กลุ่มชนนอกวรรณะทั้งชายและหญิงมีสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมได้เช่นเดียวกับกลุ่มชนในวรรณะสูง ตัวอย่างเช่น การก่อตั้งโครงการเพื่อการศึกษา การเขียนรัฐธรรมนูญและการเสนอประมวลกฎหมายฮินดู เป็นต้น เขายังเปรียบเสมือนเป็นหน้าต่างบาน หนึ่งที่เราสามารถเปิดมาดูวิถีชีวิตของกลุ่มชนนอกวรรณะ แม้ว่า ดร. อัมเบดการ์และประวัติศาสตร์กลุ่มชนนอกวรรณะจะเป็นประวัติศาสตร์นิพนธ์จากมลทิน แต่ไม่ควรมองข้ามและตัดแนวทางการศึกษาทั้งสองนี้ออกไปจากประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดียได้


โดยสรุปเมื่อเรากล่าวถึงปัญหาของประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดียนั้น สามารถกล่าวได้ว่าหมายถึงผลงานเชิงวิชาการที่กล่าวถึง อัมเบดการ์และกลุ่มชนนอกวรรณะที่ยังมีในปริมาณไม่มาก ยิ่งกว่านั้นอัมเบดการ์และกลุ่มชนอกวรรณะ คือ ทางเลือกของประวัติศาสตร์นิพนธ์ อินเดีย เพราะทั้งสองสิ่งนี้มุ่งศึกษาประชาชนที่อยู่ล่างสุดของสังคม อินเดีย นอกจากนี้ทั้งอัมเบดการ์ศึกษา ประวัติศาสตร์กลุ่มชนนอกวรรณะและซับบอลเทิร์นต่างมีสภาวะของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในบริบทพื้นที่ทางวิชาการ

Article Details

บท
บทความประจำฉบับ

References

สุกัญญา บำรุงสุข. อ่านอินเดียประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดีย ก่อน ค.ศ.1947. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2555.

Ambedkar, Bhimrao Ramji. Who Were the Shudras?: How They Came to Be the Fourth Varna in the Indo-Aryan Society. Bombay: Thackers, 1946.

Bayly, C. A. Recovering Liberties: Indian Thought in the Age of Liberalism and Empire: The Wiles Lectures Given at the Queen’s University of Belfast, 2007 Ideas in Context. Cambridge, UK, New York: Cambridge University Press, 2012.

Chatterjee, Partha. ‘Caste and Subaltern Consciousness’, in Ranajit Guha (ed.) Selected Subaltern Studies

Writings on South Asian History and Society VI. New Delhi: Oxford University Press, 1983. 194-200.

Cosimo, Zene. ‘Self-Consciousness of the Dalits as ‘Subalterns’: Reflections on Gramsci in South Asia.’ Rethinking Marxism. A Journal of Economics, Culture & Society. 23 (1), 2011, 83-99. http://eprints.soas.ac.uk/11711/1/ZENE_C._Self Consciouness_of_the_Dalits_%28RM_-_Jan_2010%29.pdf (accessed May 14, 2015).

DeVotta, Neil. (ed.). Understanding Contemporary India. London: Lynne Rienner Publishers. 2010.

Guha, Ranajit. (ed.). Subaltern Studies Writings on South Asian History and Society I. New Delhi: Oxford University Press, 1982.

Guha, Ranajit. ‘Chandra’s Death’, in Ranajit Guha (ed.), Subaltern Studies Writings on South Asian History and Society V. Delhi: Oxford University Press, 1984. 135- 165.

___________. Selected Subaltern Studies. Oxford University Press, 1998.

Ludden, David. “Introduction,” in. Reading Subaltern Studies Critical History, Contested Meaning and the Globalization of South Asia. 2002. http://jan.ucc.nau.edu/sj6/LuddenIntroduction.pdf (accessed May 14, 2015). 1-39.

Kuber, W. N. Dr. Ambedkar: A Critical Study. New Delhi: People’s Pub. House, 1973.

Kulke, Hermann and Dietmar Rothermund. A History of India. London: Routledge, 2010.

Mahar, J. Michael. The Untouchables in Contemporary India. Tucson, Arizona: University of Arizona Press, 1972.

Majumdar, Rochona. Writing Postcolonial History Writing History Series. London: Bloomsbury Academic, 2010.

Mehta, Purvi. “Recasting Caste: Histories of Dalit Transnationalism and the Internationalization of Caste Discrimination.” PhD diss., the University of Michigan, Anthropology and History, 2013. In http://deepblue.lib.umich.edu/bitstream/handle/2027.42/102442/purvim_1.pdf?sequence=1 (accessed September 26, 2015).

Metcalf, Thomas R. Ideologies of the Raj The New Cambridge History of India. Cambridge England: Cambridge University Press, 1994.

Myneni S.R. Indian History For Pre-Law First Year. Faridabad: Allahabad Law Agency, 2010-11.

Paik, Shailaja. Dalit Women’s Education in Modern India: Double Discrimination. Routledge Research on Gender in Asia Series. New York: Routledge, 2014.

Pandey, Gyanendra. (ed.). Subalternity and Difference: Investigations from the North and the South. Intersections: Colonial and Postcolonial Histories. London; New York: Routledge, 2011.

Rao, Anupama. Gender & Caste. London: Zed Books, 2003.

Sarkar, Badal. “Dr. B.R. Ambedkar’s theory of State Socialism.” International Research of social Science, Vol.2(8), August 2013. 38-41. http://www.isca.in/IJSS/Archive/v2/i8/6.ISCA-IRJSS-2013-113.pdf (accessed May 14, 2015).

Sarkar, Sumit. “The Decline of the Subaltern in Subaltern Studies.” in Vinayak Chaturvedi. Mapping Subaltern Studies and the Postcolonial. London: Published in association with New Left Review by Verso, 2000.

Spivak, Gayatri Chakravorty and Rosalind C. Morris. Can the Subaltern Speak?: Reflections on the History of an Idea. New York: Columbia University Press, 2010.

Yamazaki, Gen’ichi. The Structure of Ancient Indian Society: Theory and Reality of the Varna System Toyo Bunko Research Library. Tokyo: Toyo Bunko, 2005.

Zastoupil, Lynn. John Stuart Mill and India. Stanford University Press, 1994.

Zene, Cosimo. (ed.). The Political Philosophies of Antonio Gramsci and B.R. Ambedkar: Itineraries of Dalits and Subalterns. Routledge Advances in South Asian Studies. London: Routledge, 2013.